เคยสงสัยไหม ทำไมเด็กเขียนหนังสือต้องเอียงกระดาษ

 

 

ทำไมเด็กเขียนหนังสือต้องเอียงกระดาษ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

รู้หรือไม่ การที่เด็ก ๆ มักเอียงกระดาษไปข้างเดียวกับมือที่ถนัดก่อนเริ่มเขียน หรือเอี้ยวตัวไปทางเดียวกับที่ใช้มือเขียน ส่งผลให้มีท่านั่งที่ดูแปลกไปกว่าปกติ อาจเกี่ยวข้องกับพัฒนาการเรื่อง Crossing Midline ก็เป็นได้

แล้ว Midline คืออะไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Midline ก่อนดีกว่า

 

Midline คือ เส้นสมมุติที่ลากจากหัวถึงเท้า เพื่อแบ่งกลางระหว่างด้านซ้ายและด้านขวาของร่างกาย

ดังนั้น Crossing Midline ก็หมายถึง การที่ส่วนของร่างกาย (เช่น มือ หรือ เท้า) สามารถทำงานเคลื่อนไหวข้ามจากฝั่งซ้ายไปขวา และขวาไปซ้ายได้อย่างเป็นธรรมชาติ

หลายคนอาจจะสงสัย แล้วทำไมต้อง Crossing Midline ให้ได้ด้วยล่ะ

 

คำตอบก็คือ การที่เราไม่สามารถ Crossing Midline ได้นั้น ในระดับสมอง อาจบ่งชี้ได้ว่า สมองแต่ละซีกทำงานเชื่อมโยงระหว่างกันได้ไม่ดีพอ เพราะสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ หรือ Sensory Motor ของร่างกายนั้น อยู่ที่สมองส่วน Parietal Lobe ซึ่งซีกซ้ายจะควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนขวา และซีกขวาจะควบคุมร่างกายด้านซ้าย โดยสมองแต่ละส่วนจะส่งสัญญาณระหว่างกันผ่านกลุ่มใยประสาทที่เรียกว่า คอร์ปัส คาร์โลซัม (Corpus Callosumซึ่งเป็นโครงสร้างที่เชื่อมสมองซีกซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน และช่วยให้ส่วนต่าง ๆ สมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ และเพราะสมองแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำงานเชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ จึงสำคัญมาก เพื่อที่จะทำให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

  

 

ทางด้านร่างกาย เมื่อลูกของคุณสามารถ Crossing Midline ได้เองในมือข้างที่ถนัด มือข้างที่ถนัดนั่นเองก็จะได้เริ่มการฝึกฝนที่จำเป็นในการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กและการความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายขึ้น

ก่อนที่ทักษะนี้จะเกิดขึ้นและติดตัวอย่างถาวร คุณอาจสังเกตเห็นว่า เด็กเล็ก ๆ มักจะใช้มือซ้ายเพื่อทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นด้านซ้ายของร่างกาย และใช้มือขวาเพื่อทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นด้านขวาของร่างกาย

สังเกตได้จากเด็กทารก ที่พอเริ่มหยิบจับสิ่งของได้ และต้องการย้ายสิ่งของนั้นจากซ้ายไปขวา ก็จะใช้มือข้างซ้ายหยิบสิ่งของนั้นขึ้นมาเคลื่อนมาจนถึงกลางลำตัว แล้วถึงใช้มือขวาหยิบสิ่งของนั้นจากมือซ้ายแล้วเคลื่อนย้ายสิ่งของนั้นไปทางขวา อย่างไรก็ตาม ในช่วงระหว่าง 8 – 12 เดือน เด็กส่วนมากสามารถที่จะไขว้แขน ไขว้ขา ข้ามเส้นกลางลำตัว เพื่อเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ผู้ปกครองและคุณครูควรจะต้องสังเกตเด็กที่อายุเกิน 5 ปี แล้วแต่ยังไม่สามารถไขว้แขนขาสลับข้างได้โดยธรรมชาติ พัฒนาการในส่วนนี้จะเกิดขึ้นภายหลังเด็กได้พัฒนาทักษะมือข้างที่ถนัดแล้ว ซึ่งบางครั้งอาจเกิดขึ้นล่าช้าได้มากที่สุดที่อายุ 7 ปี หากเด็กอายุ 7 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถข้ามเส้นคั่นกลางลำตัวนี้ได้ นั่นหมายถึงเด็กคนนี้อาจมีปัญหาเกียวกับ Crossing Midline

หากลูกของคุณหลีกเลี่ยงการ Crossing Midline นั่นหมายความว่ามือทั้งสองข้างของเด็กก็จะได้รับการฝึกฝนพัฒนาไปอย่างเท่า ๆ กัน ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และมือด้านที่ถนัดจริง ๆ ของเด็กอาจะเกิดขึ้นช้า ส่งผลให้ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานระหว่างส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเด็กอาจไม่ดีเท่าที่ควร

การมีมือข้างที่ถนัดและแข็งแรงที่สามารถจับดินสอได้อย่างมั่นคง จะกระทบต่อลายมือของเด็กโดยตรง

หากเด็กใช้มือสองข้างได้เท่า ๆ กัน เด็กจะไม่มีมือข้างที่ถนัด ต่างจากเด็กที่มีมือหนึ่งข้างที่ถนัดและแข็งแรง ก็จะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และเชี่ยวชาญกว่า

 

เพิ่มเพื่อน

 

การที่เด็กใช้มือได้ทั้งสองข้างเท่ากัน ไม่ได้ช่วยให้เด็กมีลายมือดีขึ้น

 

เด็กบางคนที่มีทักษะ Crossing midline ไม่ดีพอ เมื่อไปโรงเรียนก็จะได้เริ่มพัฒนามือข้างที่ถนัดจริง ๆ มากขึ้น เด็กจะหาวิธีปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อให้สามารถเขียนด้วยมือเดียวได้ ทำให้ท่านั่งหรือท่าทางการเขียนดูแปลกกว่าปกติ

 

ตัวอย่างที่ 1:

เด็กผู้หญิงคนนี้หมุนกระดาษไปข้าง ๆ เพื่อที่เธอจะได้เขียนจากล่างขึ้นบน แทนที่จะใช้มือขวาเอื้อมไปทางซ้ายเพื่อเขียนตามบรรทัดซ้ายไปขวา

เด็กผู้ชายคนนี้ยอมเอี้ยวตัวไปทางซ้าย เพื่อที่ว่ามือขวาจะได้ไม่ต้องเอื้อมไปทางซ้ายเพื่อเขียน

 

ตัวอย่างที่ 2: ปัญหา Midline ของบ็อบบี้เกิดขึ้นชัดเจนเมื่อเขาต้องลบกระดานดำ เขาเริ่มลบจากด้านซ้ายของกระดานโดยใช้มือซ้าย และเปลี่ยนมาใช้มือขวาเมื่อต้องการลบกระดานด้านขวา โดยใช้มือซ้ายส่งแปรงลบกระดานที่บริเวณเส้นคั่นกลางลำตัวไปยังมือขวา และด้วยวิธีนี้เองเขาจึงสามารถลบกระดานทั้งสองฝั่งได้โดยไม่ต้องข้ามเส้นคั่นกลางลำตัว หรือ Midline เลย

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กมีปัญหา Crossing Midline หรือไม่

 

วิธีที่ดีที่สุด คือ ให้สังเกตเด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและการเล่นกีฬา หากเด็กไม่สามารถเอื้อมมือรับบอลข้ามซ้าย-ขวาได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือไม่สามารถเต้นสลับขาไปมาได้ เด็กอาจมีปัญหา Crossing Midline ได้

เด็กเล็ก ๆ ที่ทำงานฝีมือก็อาจจับดินสอด้วยมือขวาเพื่อวาดหรือเขียนบนกระดาษด้านขวา และจับดินสอด้วยมือซ้ายเพื่อวาดหรือเขียนบนกระดาษด้านซ้าย

การที่เด็กไม่สามารถข้าม Midline ได้ อาจส่งผลต่อระบบการประมวลผลทางการมองด้วยเช่นกัน เด็กที่มีปัญหา Crossing midline จะใช้ตาเพื่ออ่านหรือเขียนได้เฉพาะข้างนั้น ๆ ไม่สามารถข้ามเส้นคั่นกลางไปได้ เมื่ออ่านหนังสือจึงจำเป็นต้องใช้ตาซ้ายอ่านได้เฉพาะตัวหนังสือที่อยู่ด้านซ้าย และใช้ได้เฉพาะตาขวาเมื่อต้องอ่านตัวหนังสือที่อยู่ด้านขวา การสลับตาซ้ายขวาไปมานี้ จะก่อให้เกิดความสับสนในระหว่างการอ่านเป็นอย่างมาก และอาจนำไปสู่ปัญหาการอ่านหนังสือข้ามบรรทัดได้

บ่อยครั้งที่เด็กที่มีปัญหา Crossing midline มักวางกระดาษไว้ทางขวาและใช้แค่ตาขวาในการอ่าน เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ตาซ้ายช่วยอ่าน เด็กอ่านถึงขั้นใช้มือปิดตาซ้าย เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ตาซ้ายมองหนังสือที่อยู่ด้านขวาเลยก็ได้ 

 

เมื่อคุณต้องการสังเกตอาการของเด็กที่อาจมีปัญหา Crossing Midline โปรดจำไว้ว่า 

  1. แม้เด็กอาจะมีปัญหา Crossing Midline แต่เมื่อคุณขอให้เขาเอื้อมซ้ายไปขวา หรือไขว้แขนขาสลับกัน เด็กอาจสามารถทำได้ ถึงแม้ว่าเด็กจะรู้สึกไม่ค่อยถนัดหรือดูเก้ๆกังๆไปบ้าง ก็เป็นเพราะเด็กต้องใช้ความตั้งใจมากในการทำสิ่งที่คุณขอ เพราะมันไม่ใช่ทักษะที่มีติดตัวเขามาตั้งแต่แรกนั่นเอง
  2. เด็กที่มีปัญหา Crossing Midline อาจพบว่าการไขว้เท้าหรืออวัยวะส่วนล่างของร่างกายสามารถทำได้ง่ายกว่าแขนหรืออวัยวะช่วงบนของร่างกาย

 

ดังนั้นการที่เด็กสามารถนั่งไขว้ขาหรือสามารถเดินไปข้าง ๆ ได้ (Sideway Walking) ได้ ไม่ได้หมายความว่าปัญหา Crossing Midline ไม่มีอยู่จริง

 

อย่าลืมว่า

  • Midline เป็นเส้นสมมุติที่แบ่งร่างกายเด็กออกเป็นสองส่วน คือด้านซ้ายและด้านขวา
  • การ Crossing Midline มักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะความถนัดขึ้น
  • เด็กที่มีปัญหา Crossing Midline ไม่ได้ เมื่อขึ้นระดับชั้นประถมก็มักจะพบปัญหาทั้งด้านการเรียนและกีฬา
  • ควรสังเกตเด็กที่มีปัญหา Crossing Midline เป็นประจำสม่ำเสมอ
  • เด็กที่มีปัญหา Crossing Midline มักจะเป็นเด็กที่ถนัดทั้งสองมือ ที่ไม่ได้พัฒนาทักษะความถนัดเฉพาะด้าน และมักใช้แต่ละส่วนของร่างกายแยกกันโดยสิ้นเชิง

 

สมอง คือ ส่วนที่ควบคุมทักษะการประมวลผลทางด้านร่างกาย การฝึกและพัฒนาทักษะนี้ในเด็กจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเด็กในทุก ๆ ด้าน สถาบัน BrainFit ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะนี้ของเด็ก คอร์สของเราจึงถูกพัฒนาขึ้นมาจากงานวิจัยทางประสาทวิทยา (Neuroscience) เพื่อให้สามารถพัฒนาและช่วยเหลือเด็ก ๆ ได้อย่างตรงจุด ทำให้เด็ก ๆสามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข มีพัฒนาการที่สมวัย   >>รายละเอียดคอร์ส...

 

 

คอร์สพัฒนาสมาธิ และฝึกทักษะสมอง

คลิกดูรายละเอียด

 

 

02-656-9938 / 02-656-9939091-774-3769

Line: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

 

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

 

http://www.ot-mom-learning-activities.com/crossing-the-midline.html

http://theawkwardyeti.com/comic/yay-brain-anatomy/

Billye Ann Cheatum and Allison A. Hammond.  (1960).  Midline,  Physical Activities for Improving Children’s Learning and Behavior: A guide to Sensory Motor Development  (110). United States of America: Human Kinetics.

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4