เข้าใจ เมื่อลูกเป็น Dyslexia

 

  เข้าใจ เมื่อลูกเป็น Dyslexia  

 

         Dyslexia คืออะไร?

          เมื่อพูดถึง Dyslexia เชื่อว่าบางท่านอาจจะสงสัยหรือเคยยินได้มาบ้าง แล้ว Dyslexia คืออะไรกันแน่

          คำว่า Dyslexia รากศัพท์แยกออก 2 ส่วน คำว่า dys มี 2 ความหมายคือ ไม่/ ความยากลำบาก/ (not /difficulties) ส่วนคำว่า lexia หมายถึง คำ การอ่าน ภาษา (words, readings, language) เมื่อรวม 2 ส่วนเป็นคำเดียวกัน จึงหมายถึง ความยากในการใช้คำ หรือปัญหาในการใช้ภาษานั่นเอง

          การระบุคำจำกัดความของ Dyslexia นั้นแตกต่างกันออกไป บางรายอาจเกิดความสับสนและเข้าใจว่า Dyslexia คือ การใช้ตัวอักษร คำ หรือประโยคสลับที่ เช่น (b/dwas/saw) ซึ่งจริงๆแล้ว ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบที่กำลังเริ่มเรียนรู้ภาษาและอาจเกิดความสับสนระหว่างตัวอักษรและคำที่ดูใกล้เคียงกัน แต่เมื่ออายุ 7 ขวบขึ้นไปปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไข

          การอ้างอิงตามงานวิจัยนั้น ระบุว่า แท้จริงแล้ว Dyslexia มีรากฐานมาจากการทำงานของสมองที่สั่งการและควบคุมด้านการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร ตัวสะกด มีการทำงานบกพร่อง และยังรวมไปถึงพื้นฐานของสมองที่สั่งการด้านความจำ การวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนตามมา

          ผู้ที่เป็น Dyslexia มักจะพบปัญหาที่ชัดเจนอยู่ 2 ด้านด้วยกัน คือ 1. พบปัญหาด้านการอ่านอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อการสะกดคำด้วย  โดยสังเกตจากการอ่านเมื่อเทียบกับระดับชั้นเรียนของตนเอง มักพบว่า มีการอ่านตะกุกตะกัก เดาคำ หรือพยายามที่จะอ่านเกริ่นเสียงออกมาเพื่อช่วยให้อ่านได้ ซึ่งนี่คือสัญญาณบ่งบอกว่า ความสามารถในการวิเคราะห์เสียงและคำ ทำงานไม่เชื่อมโยงกัน (Fluent word recognition) และปัญหาที่ 2 คือ ความสามารถในการอ่านคำใหม่ๆทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อเห็นตัวอักษรและคำใหม่ ไม่สามารถที่จะนำอักษรและสระมาผสมและสร้างคำอ่านที่เหมาะสมหรืออ่านใกล้เคียงได้ ซึ่งจะส่งผลไปยังทักษะทางด้านความเข้าใจทางการอ่านอีกด้วย ซึ่งบางรายเข้าใจผิด คิดว่าเกิดจากทักษะด้านการมอง ซึ่งจริงๆแล้วคือความไวและความสามารถในการประมวลผลทางด้านการวิเคราะห์หน่วยเสียงในภาษานั่นเอง   

 

          ในครอบครัวที่ทราบว่าบุตรหลานของตนนั้นเป็น Dyslexia อาจมาจากการตรวจจากแพทย์ สันนิษฐานจากประวัติของคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน ซึ่งในบางครั้งเราเข้าใจว่านี่คือ การมีพื้นฐานทางด้านภาษาบกพร่อง จะสังเกตอาการเหล่านี้จากกอะไร

           ผู้ที่มีอาการมักจะ

  • มีปัญหาด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา
  • มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน และการสะกดคำ

          จากการวิจัยภาพการสแกนสมองของผู้ที่เป็น Dyslexia แสดงให้เห็นว่า สมองด้านซ้ายฝั่ง temporal lobe ที่ใช้วิเคราะห์เสียงด้านการฟังคือที่มาของปัญหา ภาพแสดงให้เห็นว่า สมองไม่แสดงการทำงานเมื่อต้องใช้งานด้านภาษา ซึ่งสิ่งนี้ สามารถติดตัวและกลายเป็นปัญหาเมื่อเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้เลยทีเดียว

 

 

          แต่ในบางรายงาน ได้กล่าวไว้ว่า อาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องใดๆ ซึ่งได้มีตัวอย่างของผู้ที่เป็น Dyslexia แต่มีความสามารถทางด้านจินตนาการสูง จนนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จได้

          ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีสถาบันหรือโรงเรียนบางแห่งที่ไม่สามารถให้การช่วยเหลือหรือดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia ได้โดยตรง เนื่องจาก Dyslexia ไม่ได้ถูกระบุให้เป็นโรคหรืออาการที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งในบางครั้งประสบการณ์ของเด็กที่เป็น Dyslexia จึงมักไม่ค่อยมีความสุขมากนักเมื่ออยู่ที่โรงเรียน เด็กๆอาจถูกมองว่า ไม่ตั้งใจเรียน หรือพยายามไม่มากพอ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้อาจสร้างบาดแผลและความไม่มั่นใจให้เด็กจนติดตัวได้

 

          การสังเกตและจำแนกอาการ

  • ระดับชั้นอนุบาล- .1-2: การอ้างอิง การทำแบบประเมิน การฝึกพูดหรืออ่าน

          ครูที่โรงเรียนสังเกตลักษณะเบื้องต้น เช่น เด็กไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง มีปัญหาในการทำตามคำสั่ง ซึ่งในบางราย นักเรียนจะได้รับการประเมินด้านการมองและการฟังบ่อยครั้ง และผลออกมาคืออยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เด็กก็ยังไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง มีปัญหาในการทำตามคำสั่งเช่นเดิม ซึ่งลักษะณะอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เด็กคนดังกล่าวอาจจะมีปัญหาด้านความไวในการประมวลผล (Processing difficulties) ซึ่งการประเมินนี้ไม่ได้รวมอยู่ในการทดสอบโดยทั่วไปในโรงเรียน และหากสังเกตได้ว่า เด็กคนดังกล่าวยังพูดไม่ชัดและไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ เด็กก็ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมจากคุณครูหรือนักอรรถบำบัด

  • ระดับชั้นป. 3-4: การพบปะ การประเมิน การสังเกตพฤติกรรม

          เมื่อเด็กอยู่ในชั้นประถมปีที่ 3 แล้ว หากพบว่ายังอ่านหนังสือไม่ออก โรงเรียนบางแห่งอาจจะจัดการประเมินรายปีเพื่อทำการทดสอบวัดระดับการอ่านให้แก่นักเรียน และเลือกจำกัดนักเรียนบางกลุ่มให้เข้ารับการช่วยเหลือ และเมื่อเวลาผ่านไป เด็กนักเรียนที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก อาจถูกลดระดับ และไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลในอันดับต้นๆอีกต่อไป ปัญหาของการอ่านหนังสือไม่ออกก็จะยังถูกสะสมต่อเนื่องต่อไป ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกวิธี ซึ่งในกลุ่มที่แสดงออกทางด้านพฤติกรรมด้านการอ่านด้วยนั้นอาจต้องได้รับการบำบัดจากนักจิตวิทยาหรือครูแนะแนวเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น

  • ระดับชั้นป. 4 ถึงระดับชั้นม. 6 การช่วยเหลือในห้องเรียน และกลยุทธ์ในการรับมือ

          เมื่อเด็กได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่า เด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลด้านภาษาอย่างถูกวิธี เช่น การฝึกโดยใช้ซอฟต์แวร์ ที่ช่วยพัฒนาการสมองผ่านการฟังและการอ่านเพื่อช่วยพัฒนาเด็กที่เป็น Dyslexia โดยมาก จะเริ่มพบปัญหาในช่วงวัยอนุบาล ซึ่งในเด็กวัยนี้ การวินิจฉัยจากแพทย์จะไม่สามารถระบุได้ว่าเด็กมีปัญหาด้านความไวในการประมวลผลทางการฟังและการมองได้อย่างชัดเจนนัก (auditory processing + visual processing) และเมื่อเด็กย่างเข้าสู่ประถมวัย การเรียนการสอนจะเน้นในเรื่อง ตัวอักษร โฟนิกส์ (Phonics) และกลุ่มคำศัพท์มากขึ้น การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สมองด้านความจำ สมาธิ ความไวในการประมวลผลข้อมูล และการเรียงลำดับข้อมูลเนื้อหาต่างๆให้ถูกต้องและแม่นยำเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่า เด็กที่มีอาการ LD, Dyslexia, ADD/ADHD จะประสบปัญหาในการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เนื่องจากทักษะพื้นฐานการทำงานของสมองด้านภาษายังไม่แข็งแรง  

          ปัญหาจะเกิดขึ้นกับเด็กในระยะยาวอย่างแน่นอน หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกวิธี เนื่องจากจำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนอาจมีจำกัด และไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง เมื่อนักเรียนต้องรับเนื้อหาที่หนักขึ้นและมากขึ้น จึงทำให้เด็กขาดแรงบันดาลใจที่จะพยายามต่อไป เนื่องจากเด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขที่สาเหตุและต้นตออย่างถูกวิธี เด็กที่เป็น Dyslexia จึงควรได้รับการฝึกและกระตุ้นสมองอย่างถูกวิธี มิฉะนั้นแล้ว ปัญหาด้านการอ่าน เขียน และสะกดคำก็จะยังคงเป็นปัญหาต่อไปจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ 

          หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ด้านการเรียนรู้ด้านภาษาล่าช้า อย่ารอช้า สถาบันมีโปรแกรมพัฒนาสมอง FAST FORWORD ที่ออกแบบจากการวิจัยรองรับแล้วว่า สามารถช่วยกระตุ้นและพัฒนาทักษะภาษาให้กับผู้ที่เป็น Dyslexia ได้อย่างตรงจุด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และเห็นผลลัพธ์ถาวร  

 

ติดต่อเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-656-9938-9

LINE: @brainfit_th

 

Site: http://www.ldonline.org/article/14907

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4