ทำอย่างไรให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพการฟังได้

 

ทำอย่างไรให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพการฟังได้

 

             คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาพูดอะไรแล้วลูกไม่ได้ยิน ต้องพูดซ้ำๆ สาเหตุอาจเพราะ ลูก ๆ อาจกำลังปวดหัวไม่น้อยกับเสียงมากมายเหล่านั้นที่ได้ยิน แต่ไม่สามารถจับใจความได้  ส่งผลให้ลูกไม่เข้าใจ และหมดความสนุกหรือเริ่มเบื่อหน่าย

เพราะอะไรเราถึงตัดเสียงรบกวนออกไปไม่ได้ ?

              นั้นก็เพราะ สมองของเรามีส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์เสียงที่เราได้ยิน และเราเรียก ความสามารถในการที่จะฟังเสียงเหล่านี้ ว่า การฟังที่เฉพาะเจาะจง” ซึ่งทักษะนี้เป็นส่วนวิเคราะห์ข้อมูลในสมองที่ทำให้เราจดจ่อกับเสียงที่เราคุ้นเคยผ่านตัวกลางของคลื่นเสียงที่ไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เสียงใบพัดของพัดลม เสียงดนตรีในเพลง และเสียงสะท้อนจากกำแพง สมองของเราจะสามารถแยกแยะเสียงเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสมองมนุษย์มีความสามารถในการฟังที่เฉพาะเจาะจง หากทักษะนี้ทำงานได้ไม่ค่อยดีล่ะก็ สมองจะต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการแยกแยะเสียงรบกวนกว่าจะจับใจความสิ่งที่ต้องการฟังได้

              นักศึกษาระดับปริญญาเอกของศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัย Georgetown ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ เพราะอะไรมนุษย์ถึงสามารถวิเคราะห์เสียงมีความซับซ้อนได้โดยศึกษาจากค้างคาว พบว่า เซลล์ประสาทของค้างคาวสามารถทำให้เซลล์ประสาทตัวอื่นๆ ลดการทำงานลงได้ เพื่อนที่จะให้จดจ่อกับเสียงที่ต้องการฟัง หรือสามารถเพิ่มระดับเสียงของเสียงที่ต้องการฟังได้ แต่ความสามารถการฟังที่สำคัญจะหายไป เช่น คลื่นเสียงเรดาร์ของค้างคาว หรือเสียงเหล่านั้นจะถูกกลืนไปกับเสียงอื่น ๆ (2010)

              นักวิจัยแห่ง UCSF ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร Naturethat ที่อธิบายเกี่ยวกับ กระบวนการทำงานแทนที่ในสมองของมนุษย์โดยใช้แผ่นขั้วไฟฟ้า 256 แผ่นติดไว้ที่สมอง ซึ่งทำให้เห็นการทำงานของเซลล์ประสาทที่งานกับเสียงที่ผู้วิจัยใช้เป็นตัวอย่างในกระตุ้นสมอง จากนั้น ผู้วิจัยจึงสามารถถอดรหัสข้อมูลจากขั้วไฟฟ้า เพื่อหาสิ่งที่ผู้รับการทดสอบได้ยินโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้รับการทดสอบ (2012)

              ค้างคาวต้องล่าเหยื่อ ชุมนุมและนำทาง ในจำนวนประชากรค้างคาวที่มากเป็นพัน ๆ ตัว จึงเป็นเหตุให้ทักษะการฟังที่เฉพาะเจาะจงสำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งในอดีต มนุษย์ก็วิวัฒนาการทักษะนี้ด้วยเหตุผลไม่ต่างจากค้างคาว

               แล้วเราจะทำอย่างไรให้เราจับใจความจากเสียงวุ่นวายเหล่านั้นได้ล่ะ?

              ในปัจจุบัน มนุษย์จะไม่ต้องล่าสัตว์เพื่อหาอาหารแล้ว โลกมีความแตกต่างจากเดิมมาก ที่ไม่ได้ใช้แค่การฟังที่เฉพาะเจาะจงแล้ว ลองจินตนาการภาพในเมืองที่สภาพการจราจรหนาแน่น เสียงต่าง ๆ มากมาย เช่น เสียงลมฝน ความวุ่นวายของชีวิตในแต่ละวันที่เราไม่สามารถดื่มด่ำกับชีวิตไปในทุกขณะได้ ไม่ใช่แค่เสียงที่เราต้องฟังเฉพาะเจาะจงได้ ตอนนี้เรากำลังจมลงไปในเสียงรบกวนที่วุ่นวาย ไม่สามารถจดจ่อกับเสียงใดเสียงหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ความสามารถของระบบประสาทที่เราเรียกว่า การฟังที่เฉพาะเจาะจง จึงได้มีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา

               เราจะเห็นได้ว่าความสามารถในการฟังที่เฉพาะเจาะจงยังเกิดขึ้นในห้องเรียนด้วย ถ้าขาดทักษะนี้ อาจจะทำให้วอกแวกได้ง่ายด้วยเสียงรบกวน นักวิจัย ยังพบอีกว่า สมาธิในการวิเคราะห์เสียงที่เฉพาะเจาะจงจะพัฒนาได้ดีขึ้นหลังจากฝึกโปรแกรม Fast ForWord 6 สัปดาห์ (2008)

               จะเห็นได้ว่าทักษะนี้ สำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ เราลองทดสอบตัวเองดูได้ว่าทักษะนี้ของเรา แข็งแรงดีหรือไม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วลองมาแชร์กันในคอมเม้นท์ได้นะคะ สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม Fast ForWord   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทักษะการฟังได้แล้ววันนี้

 

 

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี

รับคำปรึกษาจากเรา และทดลองเรียนฟรี ได้แล้ววันนี้

โทรเลย!  02-656-9938-9 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE: @brainfit_th

 

References:

https://www.scilearn.com/blog/selective-hearing-how-your-brain-extracts-meaning-noise

Bardi, J. (2012) . How Selective Hearing Works In the Brain. Retrieved from the University of California San Franciso website: 
                    http://www.ucsf.edu/news/2012/04/11868/how-selective-hearing-works-brain.

Mallet, K. (2010). Bat Brains Offer Clues As to How We Focus on Some Sounds and Not Others.  Retrieved from the Georgetown University Medical Center: 
                    http://explore.georgetown.edu/news/?ID=54075&PageTemplateID=295.  

Stevens,C., Fanning, J.,  Coch, D., Sanders, L., & Neville, H. (2008). Neural mechanisms of selective audiory attention are enhanced by computerized training: Electrophysiological evidence from language-impaired and typically developing children. Brain Research .1205, 55 –        69. doi:10.1016/j.brainres.2007.10.108.

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4