ควบคุมเวลาหน้าจอ สำหรับ เด็กสมาธิสั้น ADHD

 

 

ควบคุมเวลาหน้าจอ สำหรับ เด็กสมาธิสั้น ADHD

 

เวลาในการเล่นหน้าจอ สำหรับเด็กที่มี อาการสมาธิสั้น ADHD

 

ผู้ปกครองหลายท่านคงกังวลไม่น้อย เกี่ยวกับการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอของเด็ก ๆ และอาจเป็นเรื่องยากที่ต้องจำกัดเวลา หรือห้ามไม่ให้เด็กเล่นเลย 

การใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนั้น จะรวมถึงการเล่น social media การเล่นเกมออนไลน์ และการดูวิดีโอต่าง ๆ ด้วย การกำหนดหรือจำกัดเวลาในการเล่นหน้าจอนั้น อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่มีอาการไฮเปอร์หรือสมาธิสั้น ADHD เนื่องจากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถรู้จักการควบคุมตนเองให้รู้จักกำหนดเวลาและหยุดเล่นเองได้

จากประสบการณ์ของผู้ปกครองบางรายพบว่า เด็ก ๆ นั้น จะยื่นมือไปหยิบโทรศัพท์จากกระเป๋าของผู้ปกครองด้วยตนเอง หรือขอเล่นอุปกรณ์แทปเล็ตบ้าง ซึ่งหากถูกปฏิเสธ เด็ก ๆ ก็จะร้องไห้ โวยวาย แสดงอาการไม่พอใจ เป็นต้น 

ซึ่งผู้ปกครองหลายท่านคงต้องยอม และอนุญาตให้เด็กเล่นนั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมตามมาได้ โดยในปัจจุบัน พบว่า มีเด็ก ๆ จำนวนมากที่ได้รับการบำบัดพฤติกรรมการติดหน้าจอ ดังนั้นผู้ปกครองควรตระหนัก และเรียนรู้วิธีการจัดการกับการอนุญาตให้เด็กเล่นหน้าจออย่างเหมาะสมและถูกวิธี 

 

เวลาในการเล่นหน้าจอ 

 

การจำกัดเวลาการเล่นหน้าจอให้เด็ก หรือตัวเราเองก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉลี่ยของเด็กอายุ 5-16 ปี ส่วนใหญ่  มักจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน ในการเล่นวิดีโอเกม และจากการศึกษาของ Norwegian พบว่า มีเด็กจำนวนมากกว่า 75% ที่เล่นวิดีโอเกมมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งทางสถาบัน The American Academy of Pediatrics แนะนำให้เล่นไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น 

การเล่นหน้าจอได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว และยังจำเป็นสำหรับเด็ก ๆ ในการเรียนรู้การเข้าถึงเทคโนโลยีที่จำเป็นในโลกยุคปัจจุบันอีกด้วย เมื่อลูกของเราไปโรงเรียน และเห็นเพื่อน ๆ ของเขาใช้อุปกรณ์หรือมือถือต่าง ๆ หากลูกไม่ได้เล่นเกมที่คล้ายกับเพื่อน อาจทำให้ตัวเด็กเองรู้สึกว่าการสานสัมพันธ์ หรือการพูดคุยกับเพื่อนมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม การใช้เวลากับหน้าจอมากจนเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียหลายด้านได้เช่นกัน เช่น ขาดการสื่อสารแบบพูดคุยตัวต่อตัว การค้นพบความชอบของตนเอง ความสนใจในการทำกิจกรรมอื่น ๆ  การจัดการเวลาในการทำการบ้าน หรือการอ่านหนังสือลดน้อยลง ซึ่งการจัดสรรเวลาในการเล่นหน้าจออย่างเหมาะสม จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ที่จำเป็นได้ด้วย

 

 เด็กสมาธิสั้น กับ การจำกัดการเล่นหน้าจอ 

 

อาการสมาธิสั้นหรือไฮเปอร์ ADHD นั้นพบได้มากในเด็กปัจจุบัน เด็ก ๆ กลุ่มนี้มักถูกกระตุ้นได้โดยง่ายจาก หน้าจอที่มีสีสันน่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะสื่อล่อตาล่อใจต่าง ๆ ที่มี เสียง และภาพเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หรือรางวัลที่ได้จากการเล่นเกมยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เด็ก ๆ ติดหน้าจอได้ง่ายขึ้น

ยิ่งในเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น ADHD ด้วยนั้น จะพบว่าพวกเขาจะไม่สามารถรับรู้เวลา หรือตระหนักถึงการควบคุมเวลาที่อยู่กับหน้าจอได้ด้วยตนเองเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไปที่สามารถยับยั้งชั่งใจหรือรับรู้ว่าตนเองใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนานเกินไปแล้ว ถึงเวลาต้องวางมือถือ ไปทำการบ้าน หรือได้เวลาเข้านอนแล้ว เป็นต้น

 

 ช่วงเวลานอนกับการดูสื่อต่าง   

 

เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น ADHD พบว่าพวกเขามักนอนหลับไม่เพียงพอ ตื่นบ่อยกลางดึก และขยับตัวบ่อยขณะนอน เมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมากลางดึก ก็จะหันไปหยิบมือถือหรืออุปกรณ์แทปเล็ตขึ้นมาเล่นกลางดึก เพียงเพื่อจะช่วยให้เขารู้สึกว่าจะช่วยให้หลับต่อ ซึ่งพฤติกรรมนี้สามารถส่งผลกระทบทางอ้อมได้ จากการศึกษาของ the Journal of Physical Activity and Health พบว่า เด็กที่มีอาการสมาธิสั้นนั้น มีชั่วโมงการนอนน้อยกว่า และใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่เองก็พยายามลดเวลาในการดูทีวีของลูก ๆ แล้ว แต่กลับพบว่าในห้องนอนของเด็ก ๆ เอง ก็ยังมีทีวีตั้งอยู่ ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีต่อเด็กเท่าไหร่นัก 

 

8 กลยุทธ์ในการจัดการเวลาและควบคุมการดูหน้าจอให้กับเด็ก ที่บ้าน 

 

1.  ⏱️  กำหนดเวลาที่ชัดเจนให้เด็กในการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ และต้องจำกัดการใช้งานตามที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดเป็นประจำ และต่อเนื่อง

2.  ☀️  เลือกเวลาที่เหมาะสมในช่วงวัน ว่าช่วงเวลาใดที่เหมาะสมในการเล่นหน้าจอ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ๆ ร้องขอตลอดเวลา ผู้ปกครองสามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมะสม เช่น ให้เล่นได้ 30 นาทีเท่านั้น หลังจากที่ลูกทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรเลือกช่วงเวลาตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน เพราะจะทำให้เด็กยิ่งวอกแวกได้ง่าย เมื่อต้องเตรียมตัวไปโรงเรียน

3.  ⏳  ช่วยฝึกเด็ก ๆ ในการรับรู้เรื่องเวลา และฝึกให้เด็กเตือนตัวเองขณะเล่นหน้าจอด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ รับรู้ว่าใกล้ถึงเวลาที่จะต้องวางอุปกรณ์ลง และไปทำอย่างอื่นได้แล้ว ผู้ปกครองสามารถช่วยจัดหานาฬิกาจับเวลามาวางไว้ข้าง ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ เห็น และเมื่อได้ยินเสียงร้องเตือนจากนาฬิกาก็ควรหยุดเล่น และวางอุปกรณ์ลง ผู้ปกครองไม่ควรช่วยบอกเวลาให้เด็กอยู่ตลอดเวลา ควรฝึกให้เด็ก ๆ รับรู้และคอยสังเกตเวลาด้วยตนเองบ้าง เพื่อเป็นการฝึกพัฒนาการให้เด็กรับรู้เรื่องความสำคัญ และการควบคุมเวลาของตนเองมากขึ้น

4.  ?‍?‍?  การเล่นอุปกรณ์ใด ๆ ก็ตาม ควร กำหนดให้เด็ก ๆ เล่นในห้องที่มีผู้ปกครองเห็นด้วย เช่น ห้องนั่งเล่น เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถคอยสังเกต และควบคุมสื่อที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ๆ 

5.  ?  ควรงดการเล่นมือถือหรือแทปเล็ตในช่วงการรับประทานอาหาร หรือในสถานการณ์ที่เด็ก ๆ ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น ในกลุ่มสนทนากับครอบครัว เพื่อน งานปาร์ตี้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการสื่อสารและพูดคุยกับสังคมรอบข้างมากขึ้น 

6.  ?  ผู้ปกครองต้องไม่อนุญาตให้เด็ก ๆ ยื่นมือไปหยิบมือถือของผู้ปกครองจากกระเป๋าส่วนตัว หรือเมื่อวางไว้ที่ใดที่หนึ่งด้วยตนเอง โดยยังไม่ได้รับอนุญาต เพราะการปล่อยให้เด็กหยิบอุปกรณ์เอง และเข้าถึงหน้าจอตามที่เด็กต้องการเวลาใดก็ได้นั้น สิ่งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กไม่รู้จักกฏกติกามารยาท และอาจจะไปทำเช่นนี้ที่โรงเรียนกับสิ่งของอื่น ๆ ของเพื่อนหรือผู้อื่นได้ 

 

ผู้ปกครองสามารถช่วยฝึกเด็ก ด้วยการเป็นผู้ยื่นอุปกรณ์ให้กับมือด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาที่สามารถเล่นได้ หรือตามที่ได้ตกลงกันไว้ หากเป็นไปได้ ควรมีอุปกรณ์แยกต่างหากสำหรับของเด็กโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันปัญหาให้เด็กกดโทรออก หรืออ่านข้อความ อีเมล ข่าวสารเนื้อหา หรือข้อมูลที่ผู้ปกครองอาจไม่ต้องการให้เด็กเข้าถึงได้

 

7.  ??  ฝึกให้เด็กเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนเข้านอนด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการเล่นก่อนนอนหรือหยิบขึ้นมาเล่นกลางดึกขณะตื่น และไม่ควรมีทีวีในห้องนอน 

8.  ?  ที่สำคัญ ผู้ปกครองจะต้องชื่นชมเด็ก ๆ ทุกครั้ง เมื่อเขาสามารถทำตามกติกา และรักษาเวลาในการเล่นอุปกรณ์ได้ตามที่ตกลงไว้ และจะต้องให้เหตุผลเพื่อให้เด็กเข้าใจหากเด็ก ๆ ไม่ปฏิบัติตามกฏ เช่น ในวันนี้เล่นเกินเวลาที่ตกลงกันไว้ ในวันต่อไป ก็จะต้องขอลดการเล่นในวันต่อไปออกไป ตามที่เล่นเกินมาในวันนี้ เพื่อให้เด็ก ๆ เห็นความสำคัญของการเคารพ และปฏิบัติตามกติกา และป้องกันปัญหาการต่อรองในครั้งถัดไป

 

สำหรับผู้ปกครองที่อาจจะเพิ่งเริ่มต้นในการตั้งกติกาให้เด็ก ๆ เป็นครั้งแรก อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย เด็ก ๆ อาจไม่ให้ความร่วมมือ อาจรู้สึกกดดัน เสียใจ หรือรู้สึกเหมือนตนเองถูกลงโทษ ผู้ปกครองจะต้องเตรียมรับมือกับสิ่งนี้ และต้องพยายามสื่อสารทำความเข้าใจถึงข้อดี และข้อเสียให้เด็ก ๆ เข้าใจก่อน เพื่อปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเมื่อลองทำแล้ว พยายามสังเกตดูว่า เด็ก ๆ มีอาการยุกยิกน้อยลงไหม การนอนของเด็ก ๆ ต่อเนื่องมากขึ้นหรือไม่ หรือเด็ก ๆ เริ่มมีสมาธิมากขึ้นเพียงใด แต่หากลองลดเวลาแล้วอาการสมาธิสั้นยังไม่ลดลง ผู้ปกครองสามารถขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และหากิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะสมาธิของเด็ก ๆ ควบคู่กันต่อไปได้

 

ที่ BrainFit เรามี คอร์สพัฒนาสมาธิเด็ก สำหรับเด็ก 3 -18 ปี ที่จะช่วยพัฒนาสมองทั้ง 5 ด้านของเด็ก ๆ ให้เเข็งแรงมากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้พวกเขาพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น!!

 

 

คอร์สพัฒนาสมองและสมาธิเด็ก 3-18 ปี

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  โทร 02-656-9938

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์   091-774-3769

LINE Official Account: @brainfit_th

 

ที่มา: psychcentral