ความจำดี ด้วย 6 วิธีที่ไม่ควรพลาด

 

 

 “ความจำดี” ด้วย 6 วิธีที่ไม่ควรพลาด

 

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า

 

  • ทำไมเด็กบางคนถึง ความจำดี แต่เด็กบางคนกลับขี้ลืมอยู่ตลอดเวลา

  • บางคนสามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายปีก่อนได้ แต่กลับจำบทเรียนที่คุณครูสอนเมื่อตอนเช้าไม่ได้

 

มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความจำเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียน หรือความสามารถในการเรียนรู้ (school performance) ของเด็ก ๆ อย่างมีนัยสำคัญ

 

เพราะหากเด็ก ๆ มีปัญหาหรือความบกพร่องในส่วนของ Working Memory กล่าวคือ

  • มีปัญหาด้านการจดจำข้อมูล

  • การคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ

  • หรืออาจมีกระบวนการทำงานช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

 

ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้เด็ก ๆ ประสบกับ ภาวะบกพร่องในการบริหารจัดการ (Dysexecutive Syndromes) และอาจประสบกับภาวะความบกพร่องทางการเรียนรู้มากมาย เช่น สมาธิสั้น (ADHD) หรือ ความบกพร่องในการอ่านเขียน (Dyslexia) เป็นต้น

 

BrainFit เข้าใจและรับรู้ได้ถึงความกังวลใจ ของคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง ที่อาจกำลังประสบกับปัญหาข้างต้น ท่านสามารถสบายใจได้

เพราะปัญหาเรื่องการทำงานในส่วนของ Working Memory เราสามารถแก้ไขและพัฒนาได้ ยิ่งกับเด็ก ๆ แล้วนั้น ยิ่งมีโอกาสในการพัฒนาสูง

 

เพิ่มเพื่อน

 

วันนี้ BrainFit มี 6 ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูก ๆ มีความจำดีและผลการเรียนดีขึ้นมาฝากกันค่ะ

 

1. ทำความเข้าใจว่าความจำแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน

ผู้ปกครองหลายท่านอาจคุ้นเคยหรือพอจะเข้าใจว่า ความจำแบ่งออกได้เป็น ความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว แต่นอกจากนี้ยังมี ความจำการรู้สึกสัมผัส อีกด้วย โดยความจำมี 3 ประเภทดังนี้

  • ความจำการรู้สึกสัมผัส (Sensory Memory)

ความจำการรู้สึกสัมผัส เป็นความจำในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นความจำที่มาจากประสาทสัมผัสหรือความรู้สึก ที่รับรู้มาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ความจำจากการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสผ่านผิวหนัง เป็นต้น

 

 

ซึ่งความจำจากการรู้สึกสัมผัสนี้ เช่น การใช้มือสัมผัส การได้ฟังเสียง การมองเห็นภาพ ฯลฯ ทำให้เราเรียนรู้และคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ทั้งยังส่งผลต่อการมีสมาธิจดจ่อของเราด้วย หากได้รับรู้บ่อย ๆ จะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ เข้าใจ และความสามารถในการจดจำข้อมูลได้ยาวนานขึ้นได้อีกด้วย

  • ความจำระยะยาว (Long-Term Memory)

ความจำระยะยาวคือ การจดจำบุคคลหรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างละเอียด แม้เหตุการณ์จะผ่านมา 3 วัน 10 เดือน หรือ 20 ปี ก็ยังสามารถจดจำและสามารถกู้คืนเพื่อนำออกมาใช้เมื่อต้องการได้นั่นเอง ความจำระยะยาว สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกคือ

ความจำที่เรียกคืนโดยใช้ความคิดระดับสูง (Explicit Memory) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจ เช่น การจำชื่อเพื่อนสมัยประถมได้ การจำชื่อผลไม้เขตร้อนทุกชนิด หรือการจำชื่อจังหวัดในประเทศไทยได้ เป็นต้น

ความจำระยะยาวอีกชนิดคือ ความจำที่สามารถเรียกคืนกลับโดยอัตโนมัติ (Implicit Memory) ซึ่งได้มาจากการฝึกทำซ้ำ ๆ เช่น การปั่นจักรยาน การขับรถ ความสามารถในการพูดภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

  • ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory)

การจดจำข้อมูลจำนวนเล็กน้อยเพื่อนำไปใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 30 วินาที เช่น การจดจำหมายเลขโทรศัพท์เพื่อนำไปบันทึกไว้ในสมุด ในระหว่างการจดจำนี้ Working Memory ซึ่งเป็นความจำระยะสั้นประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญก็กำลังทำงาน เพราะในขณะนั้นเรากำลังตั้งใจจดจ่อกับตัวเลขนั้นอยู่ และพยายามทบทวนหมายเลขนั้นให้จำขึ้นใจก่อนจะนำไปจดลงในสมุด เป็นกระบวนการคิดเพื่อการหาทางแก้ไขปัญหาที่กำลังเจออยู่นั่นเอง

หมายความว่า Working Memory ไม่ใช่แค่การจดจำในขณะหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นความสามารถในการเชื่อมโยง และจัดระบบข้อมูล คิดในระดับที่ซับซ้อนขึ้น และช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลที่ต้องการนำออกมาใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น เวลาอ่านหนังสือ เราใช้ Working Memory ในการเชื่อมโยงย่อหน้าหนึ่งกับย่อหน้าถัดไปได้ เป็นการคิดทบทวนเรื่องราวก่อนหน้าและนำมาเชื่อมโยงกับย่อหน้าปัจจุบัน จนทำให้เราเข้าใจเรื่องนั้นได้นั่นเอง

นอกจากนี้ งานวิจัยได้ค้นพบว่า การเพิ่มทักษะความจำแบบ working memory ช่วยให้ความสามารถในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving Skill) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจบทความและการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ดีขึ้น รวมไปถึงส่งผลต่อผลการเรียน และ IQ ที่ดีขึ้นด้วย

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่า สมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะสั้นและสมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะยาวนั้นทำงานต่างกัน ก็จะเข้าใจว่าการที่ลูกอาจจะหลงลืมคำศัพท์ที่คุณครูสอนบ่อย ๆ หรือรู้สึกว่าการแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ เป็นเรื่องยากนั้น ไม่ใช่เพราะว่าเขาขี้เกียจหรือไม่อยากจำ แต่การทำงานของ working memory ของเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงนั่นเอง

สรุปก็คือ หากเด็ก ๆ ได้รับการฝึกใช้ Working Memory อย่างต่อเนื่องจนมีความจำเพื่อใช้งานที่แข็งแรงนั้น จะทำให้เด็ก ๆ สามารถจัดการหรือทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

 

2. ฝึกสะกดคำ ช่วยให้จำเก่ง

การจำวิธีการสะกดคำนั้น คือ ประเภทหนึ่งของความจำโดยความหมาย (semantic memory) หรือ เรียกง่าย ๆ ว่าความรู้ (knowledge) นั่นเอง ในช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียนของลูก พ่อแม่หลายคนจะสอนให้ลูก ๆ จำว่าตัวอักษรนั้นเรียกว่าอะไร เช่น B เรียกว่า บี แต่การที่ให้ลูก ๆ ได้พัฒนาการออกเสียงของแต่ละตัวอักษรและคำต่าง ๆ ก็มีประโยชน์อย่างมากในการสร้างความจำส่วนที่เกี่ยวกับเสียง (phonological memory) เช่น สอนให้เด็กรู้ว่า B ออกเสียงว่า “เบอะ” เป็นต้น และยังส่งเสริมพื้นฐานการสะกดคำในอนาคตของลูกด้วย

 

 

เพราะว่าการที่เด็กมีความแม่นยำในการวิเคราะห์หน่วยเสียงย่อย (Phonemic awareness) นั้นคือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้การสะกดคำ และอ่านหนังสือของเด็ก ๆ เมื่อโตขึ้น การที่เด็กบางคนมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและสะกดคำ เช่น อ่านไม่คล่อง อ่านสลับไปมาหรือข้ามบรรทัด สะกดคำไม่ถูก หรือเขียนตกหล่นอยู่บ่อย ๆ อาจเป็นเพราะหน่วยความจำที่เกี่ยวกับเสียง (phonological memory) ยังมีแม่พิมพ์ที่ชัดเจนไม่พอ

 

 

นักวิจัยจาก Scientific Learning จึงได้คิดค้นซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Fast ForWord ที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาพื้นฐานกี่ยวกับการฟังเหล่านั้นได้ในเวลาอันสั้น โดยโปรแกรมนี้จะช่วยปรับตั้งแต่ทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้ภาษาที่สำคัญ นั่นคือทักษะการฟัง ทั้งยังเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาในรูปของเกมที่ช่วยพัฒนาทั้งทักษะภาษาอังกฤษ พัฒนาสมาธิ การจดจ่อ รวมไปถึงความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ลำดับข้อมูล และ ความจำดี อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

 

3. นอนหลับให้เพียงพอ

หลายคนคิดว่าเวลาที่เรานอน สมองของเราจะได้พักผ่อนและหยุดทำงาน แต่ความจริงแล้ว ในขณะที่เราหลับ สมองของเรากำลังเรียบเรียง จัดการข้อมูลและความจำที่สมองได้รับเข้ามาตลอดวัน ทั้งจัดการโยนข้อมูลที่ไม่สำคัญทิ้งไปและจัดเก็บส่วนที่สำคัญไว้ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  ในวันต่อไปและมี ความจำดี ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

5. ให้ working memory ได้ทำงานบ่อย ๆ

Working memory คือ ความจำส่วนสำคัญที่ทำงานเมื่อเราต้องการแก้ปัญหาต่าง ๆ ความจำส่วนนี้จะช่วยให้เราจดจ่อกับโจทย์ปัญหาในมือและในขณะเดียวกันก็ทำการค้นหาและดึงข้อมูลจากหน่วยความจำระยะยาวมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราสามารถฝึก working memory ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการฝึกอย่างถูกวิธีและความถี่ที่เหมาะสม

BrainFit จึงออกแบบ SMART Workout ซึ่งเป็นเกมฝึก working memory ที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการพัฒนาทั้งทักษะความจำ working memory จากการมองและจากการฟัง (Visual and Auditory memory) ไปพร้อม ๆ กับทักษะอื่น ๆ เช่น ความเร็วในการประมวลผล (Processing speed) สมาธิการจดจ่อ (Attention) เป็นต้น

 

 

มาในรูปแบบของเกมที่หลากหลาย ใช้งานง่ายได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ และ iPad หรือแท็ปเล็ต รองรับทั้งระบบ iOS และ Android

ตัวอย่างของเกม

 

 

6. หากลยุทธ์การจำที่เหมาะกับลูกของคุณ

การฝึกให้เรามีทักษะการจดจำที่ดีนั้นมีวิธีมากมาย ดังเช่น การฝึกฝน ทบทวนซ้ำ ๆ ในช่วงแรกของการรับข้อมูลใหม่ แน่นอนว่าเราจะยังไม่สามารถจดจำข้อมูลนั้นได้ทั้งหมด แต่หากเราได้เจอกับข้อมูลนั้นบ่อย ๆ ทบทวนบ่อย ๆ ในระยะเวลาหนึ่งข้อมูลนั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ จนเราสามารถจดจำได้เป็นอย่างดี

ซึ่งวิธีการจดจำของแต่ละคนอาจมีวิธีที่ต่างกัน เช่น

  • การแบ่งข้อมูลเป็นส่วนย่อยหรือเป็นกลุ่ม เพื่อให้จำง่ายขึ้น
  • การจำข้อมูลเป็นภาพ
  • การจำข้อมูลเป็นแผนผังความคิด (Mind Map)
  • หรือการจดจำโดยนำข้อมูลสร้างเป็นเรื่องราว

ซึ่งวิธีเหล่านี้จะต้องอาศัยความขยัน ความมีวินัยในการฝึกฝนบ่อย ๆ จึงจะช่วยพัฒนาทักษะในการจดจำให้ดีขึ้นได้ เพื่อที่จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลและการเรียกข้อมูลกลับมาใช้ใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายและแม่นยำมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของลูกและหาวิธีที่แตกต่างและเหมาะสมกับลูก ๆ แต่ละคน

 

6. ฝึกสมองแบบ Whole Brain Training

นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น เพราะที่สถาบัน BrainFit เรามีหลักสูตรการฝึกสมอง ที่ช่วยพัฒนาทั้งด้านความจำ สมาธิ รวมไปถึงความฉลาดทางอารมณ์และการเข้าสังคม ผ่านโปรแกรมและกิจกรรมที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน

นั่นคือ หลักสูตรการฝึกแบบ Whole Brain Training หลักสูตรนี้ประกอบด้วย โปรแกรมที่ผ่านการวิจัยและได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และกิจกรรมสนุกสนาน ที่ได้รับการคิดค้นจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทั้งด้านกายภาพบำบัด กุมารเวชศาสตร์ ประสาทวิทยาในเด็กและสมอง

 

 

ทั้งนี้ในหลักสูตร Whole Brain Training เด็ก ๆ ยังจะได้รับการฝึกสมองผ่านการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะสำคัญทั้ง 5 ด้าน คือ

  • ทักษะการจดจำ คิด วิเคราะห์ สมาธิและการจดจ่อ  
  • ทักษะการฟัง
  • ทักษะการมอง
  • การควบคุมการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส
  • ทักษะการเข้าสังคมและความฉลาดทางอารมณ์

นอกจากเด็ก ๆ จะมีความจำและการทำงานของ Working Memory ที่ดีขึ้นแล้ว ไม่เพียงเท่านั้นเด็ก ๆ ยังได้พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ลำดับข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทักษะเหล่านี้ช่วยให้การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในห้องเรียน หรือการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เป็นเรื่องง่ายและสนุก ทั้งยังพัฒนาเรื่องของความเข้าใจในการจัดการอารมณ์และการเข้าสังคม ทำให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ เข้าใจ และปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีมากขึ้นนั่นเอง

 

 

และทั้งหมดนี้ก็คือ 6 ข้อที่คุณผู้ปกครองควรรู้ หากบุตรหลานของท่านกำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็น

  • จำบทเรียนในห้องไม่ได้
  • คิด วิเคราะห์ ประมวลผลช้า
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน
  • ฯลฯ

 

ปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด เพราะเมื่อเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาแล้ว การแก้ปัญหาก็ไม่ใช้เรื่องยากอีกต่อไป

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจบุตรหลานของท่านมากขึ้น สถาบัน BrainFit พร้อมช่วยเหลือและอยู่เคียงข้าง เพื่อสร้างโอกาส อนาคตที่ดี และเปิดโลกการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ให้กว้างขึ้น     

 

 

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี

 

 

 

รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!

 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

 

Reference: https://brainfit.com.sg/types-of-memory/

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4