พัฒนาการ ดี ได้ด้วยการเล่นบทบาทสมมติ

 

 

พัฒนาการ ดี ได้ด้วยการเล่นบทบาทสมมติ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

พัฒนาการ ดี เริ่มต้นจากการเล่น! บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเคยเห็นลูกตัวเองนั่งเล่นคนเดียว พูดกับตุ๊กตา แกล้งรับโทรศัพท์แล้วทำเหมือนว่ากำลังคุยกับใครบางคน หรือแม้กระทั่งหยิบตะเกียบขึ้นมาแล้วโบกไปรอบ ๆ ราวกับว่าตะเกียบเป็นคฑาเวทมนต์ ... สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยค่ะ


กิจกรรมการเล่นที่เด็ก ๆ สมมติขึ้นมาเล่นกับจินตนาการของเขา อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราเรียกว่า การเล่นบทบาทสมมติค่ะ
 


การเล่นบทบาทสมมติมี 2 ลักษณะ คือ


1. เด็กสร้างจินตนาการ และสมมติบทบาทขึ้นมาเอง รวมถึงการสร้างเพื่อนในจินตนาการก็ถือเป็นการเล่นบทบาทสมมติอย่างหนึ่ง โดยเด็ก ๆ อาจเคยเห็นหรือได้รับประสบการณ์นั้นมาแล้ว และนำมาจินตนาการ สร้างบทบาทสมมติเอง


2. การเล่นบทบาทสมมติในสถานการณ์จำลองให้เสมือนจริง เช่น มีการจัดสิ่งแวดล้อม สภาพการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการต่อยอดความคิด และจินตนาการให้เด็ก ๆ ซึ่งอาจทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วมากกว่าการสร้างบทบาทสมมติเอง

 

นักวิจัยทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ พบว่า การเล่นบทบาทสมมติเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้เด็กเกิดความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็ก ๆ ค้นพบตนเองว่าชอบอะไร อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพทางสมองของเด็ก ๆ อย่างรอบด้านอีกด้วย
 


แล้วการเล่นบทบาทสมมติส่งผลอย่างไรต่อพัฒนาการเด็ก ?

ช่วยให้ พัฒนาการดี จริงไหม ?

วันนี้เราได้นำเอาประโยชน์ 5 ข้อของการเล่นบทบาทสมมติมาฝากค่ะ

 


1. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เป็นการกระตุ้นความคิดของเด็ก และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยตรง เช่น เด็ก ๆ เล่นบทบาทสมมติเป็นคนทำอาหาร เขาก็จะเชื่อมโยงเหตุการณ์ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่พาไปร้านอาหาร หรือตอนที่ดูคุณพ่อคุณแม่ทำอาหาร เด็ก ๆ จะจดจำรายละเอียด และจินตนาการ แล้วแสดงออกให้เหมือนบทบาทนั้น



“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เนื่องจากความรู้นั้นจำกัดอยู่แค่ที่เรารู้และเข้าใจ ในขณะที่จินตนาการ รวมเอาโลกกับความรู้และความเข้าใจที่จะต้องรู้ทั้งหมดไว้ด้วยกัน" 
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

 


2. ส่งเสริมด้านความจำ ในการเล่นบทบาทสมมติ เด็ก ๆ ต้องจดจำบทบาทของตัวละครนั้นหรือนึกถึงสิ่งที่ตัวละครนั้นจะพูด ซึ่งเป็นการกระตุ้นความจำจากสิ่งที่เด็ก ๆ เคยเห็นหรือจดจำมาก่อน


3. พัฒนาทักษะด้านภาษา ไม่ว่าเด็ก ๆ จะเล่นคนเดียว หรือเล่นกับคนอื่น การเล่นบทบาทสมมติต้องใช้การสื่อสาร และทักษะภาษาเป็นหลัก หากคุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสเล่นบทบาทสมมติกับเด็ก ๆ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้คำศัพท์ วิธีการพูดใหม่ ๆ จากคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้งหากสอดแทรกคำศัพท์ภาษาอังกฤษในการเล่น จะสามารถช่วยพัฒนาทักษะภาษาของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย!


4. พัฒนาทักษะด้านสังคม และด้านอารมณ์ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจอารมณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้เด็ก ๆ แสดงหรือรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ผ่านการแสดงบทบาท เช่น ตัวละครรู้สึกเสียใจ มีความสุข โกรธ ฯลฯ โดยสอนให้เด็ก ๆ รู้ว่าเมื่อเกิดความรู้สึกเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมอะไรตามมา และเป็นการให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อารมณ์ของตนเอง


5. เสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย ในขณะที่เล่นบทบาทสมมติ เด็ก ๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายตามบทบาทต่าง ๆ เช่น ทำท่ากระโดดเหมือนจิงโจ้ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกาย มีส่วนช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง
 

 


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ จะเห็นได้ว่าการเล่นบทบาทสมมติมีประโยชน์ต่อ พัฒนาการ เด็กในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งคุณหมอพัฒนาการเด็กจะใช้เรื่องการเล่นบทบาทสมมติ เป็นหนึ่งในวิธีประเมินพัฒนาการเด็กว่ามีอาการของออทิสติกด้วยหรือไม่ เพราะการเล่นบทบาทสมมติต้องมีพัฒนาการหลายด้านประกอบกัน

 

 

สถาบัน BrainFit ของเราให้ความสำคัญกับพื้นฐานสมองที่ดีและแข็งแรง เรามีคอร์สพัฒนาทักษะสมองทั้ง 5 ด้าน เพื่อส่งเสริม พัฒนาการ ศักยภาพทางสมองของผู้เรียน ซึ่งกิจกรรมทุกรูปแบบถูกออกแบบตามหลักประสาทวิทยา และมีงานวิจัยรองรับ ทุกทักษะที่ได้ฝึกจะอยู่ติดตัวผู้เรียนไปตลอดชีวิต!

 

 

พัฒนาทักษะสมาธิแบบ Whole Brain Training 

รับสมัคร อายุตั้งแต่ 3-18 ปี

 

 

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  โทร 02-656-9938

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์   091-774-3769

LINE Official Account: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 
ที่มา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4