มารู้จักโรคสมาธิสั้นกันเถอะ

 

          มาทำความรู้จัก โรคสมาธิสั้น กันเถอะ

           พ่อแม่ยุคใหม่ คงได้ยินคำนี้บ่อยๆ เด็กสมาธิสั้น หรือ โรคสมาธิสั้น เพราะเทคโนโลยีและการเลี้ยงดูสมัยใหม่ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของเด็กให้กลายเป็นเด็กที่มีสมาธิสั้น แล้วโรคสมาธิสั้นคืออะไร มีอาการยังไง เป็นแล้วจะรักษาได้ไหม มาหาคำตอบกัน

          โรคสมาธิสั้น คือ กลุ่มอาการที่มีภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีปัญหาความปกติทางด้านสมองส่วนหน้าในการควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจทำงานน้อยกว่าปกติ ที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว และแสดงออกทางพฤติกรรม ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมอาการไม่ได้ หงุดหงิด โมโหง่าย วอกแวก ขาดความสนใจและความรับผิดชอบ เด็กบางคนอาจมีอาการก้าวร้าว โมโหร้าย  หุนหันพลันแล่น เอาแต่ใจร่วมด้วย

          อาการเด็กสมาธิสั้น จะแสดงออกผ่านทางพฤติกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสังเกตพฤติกรรมลูก นอกจากต้องสังเกตจากลักษณะอาการแล้ว ยังจำเป็นต้องพิจารณาจากระยะเวลาที่เป็น และสถานการณ์ที่เด็กจะแสดงอาการเป็นพิเศษ  เด็กที่เป็นสมาธิสั้นมักจะพบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 - 7 ปี แต่ในรายที่เป็นไม่มาก อาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าในช่วงหลัง 7 ขวบขึ้นไป ในช่วงที่เข้าโรงเรียนเด็กจะขาดความรับผิดชอบ ขาดความสนใจ ปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ยาก ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาอาการนี้จะติดตัวเด็กไปจนโต และอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเด็กในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นพ่อแม่และอาจารย์ควรช่วยกันสังเกตพฤติกรรมและช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น บวกกับการรักษาทางการแพทย์ร่วมด้วย

          วิธีรักษาโรคสมาธิสั้น/พัฒนาสมาธิ

ปัจจุบันการรักษาโรคสมาธิสั้นมีแนวทางการรักษาด้วยกัน 4 วิธี  ได้แก่

  1. การปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ซึ่งวิธีนี้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ควรหากิจกรรมที่ลูกสนใจทำ ฝึกสมาธิ หรือการฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบโดยการจำกัดเวลากินข้าว ทำการบ้าน หรือให้ช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน
  2. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทเพิ่มมากขึ้น
  3. เรียนแบบตัวต่อตัว เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมด้วยนั้นจะเรียนไม่ทันเพื่อน  การเรียนรู้พัฒนาสมาธิและพัฒนาตามทักษะต่างๆ ทักษะด้านการฟัง,   ทักษะด้านการมอง, ทักษะด้านการควบคุมการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส  ทักษะเหล่านี้ฝึกได้ แต่ต้องฝึกอย่างถูกวิธี ผลคือ สมาธิดีขึ้น
  4. ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่อง

          หากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ หรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีในวัยเด็ก จะส่งผลต่อเนื่องไปจนโต อาจกลายเป็นคนที่ทำอะไรไม่ค่อยสำเร็จ ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้า กลัว ซึมเศร้า ซึ่งคนในกลุ่มนี้จะมองว่า ตัวเองไร้ค่า ซึ่งอาจส่งผลทางด้านอารมณ์และการเข้าสังคมตามมา ที่ สถาบัน BrainFit Studio มีหลักสูตรที่ช่วยพัฒนาสมาธิให้ดีขึ้นได้ ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนานและผ่านการวิจัยทางประสาทวิทยามาแล้วกว่า 30 ปี

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4