ลูกเลี้ยงยาก แก้ได้! เมื่อเข้าใจพื้นอารมณ์

 

ลูกเลี้ยงยาก แก้ได้! เมื่อเข้าใจพื้นอารมณ์

 

เพิ่มเพื่อน

 

ทำไมพ่อแม่บางคนถึงมีลูกเลี้ยงง่าย บางคนก็บอกว่า ลูกเลี้ยงยาก ?

 

เหตุผลก็เพราะเด็ก ๆ แต่ละคนเกิดมาพร้อมกับพื้นอารมณ์ที่ต่างกัน ซึ่งพื้นฐานอารมณ์นี่เองที่จะบอกเราว่าเด็กแต่ละคนแสดงออกหรือมีพฤติกรรมต่อสิ่งรอบตัวอย่างไร วันนี้ BrainFit ชวนคุณพ่อคุณแม่มาดูกันว่า ลูกรักมีพื้นฐานอารมณ์แบบไหน และจะเลี้ยงลูกอย่างไรให้เหมาะสมกับพื้นฐานอารมณ์ ไม่รอช้าไปติดตามกันเลย!

 

เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างและหลากหลาย เป็นเหตุผลว่าทำไมบางครอบครัวจึงมีทั้งลูกแบบที่เลี้ยงง่ายและ ลูกเลี้ยงยาก

 

จากงานวิจัยที่ศึกษาเรื่อง The Origin of Personality โดย Thomas และคณะ ได้กล่าวว่า พฤติกรรมการแสดงออกหรือการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวของเด็กนั้น สามารถแบ่งได้ถึง 9 แบบ ดังนี้

 

1. การเคลื่อนไหว

เด็กบางคนชอบเคลื่อนไหวมาก ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้ง ชอบออกไปวิ่งเล่น มีพลังงานเหลือเฟือ แต่ก็มีเด็กอีกกลุ่มที่จะชอบอยู่นิ่ง ๆ ไม่ชอบวิ่งเล่น ชอบทำกิจกรรมที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวมาก

2. ความสม่ำเสมอ

เด็กบางคนตื่นนอน กินข้าว หรือมีกิจวัตรประจำวันที่เป็นเวลาแน่นอน แต่เด็กบางคนก็นอนหลับยาก หรือตื่นไม่เป็นเวลา 

3. การเข้าหาหรือถอยหนี

เด็กบางคนจะชอบหรือสนุกกับการทำสิ่งใหม่ แต่กลับกันก็มีเด็กที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ชอบที่ต้องเจอสิ่งใหม่ เด็ก ๆ จึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยง

4. การปรับตัว

เด็กบางคนสามารถปรับตัวได้เร็วเมื่อเจอสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น ย้ายบ้านใหม่ หรือย้ายโรงเรียนใหม่ เด็กบางคนต้องใช้เวลานานในการปรับตัวเมื่อต้องเปลี่ยน หรือเจอกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย

5. ความอดทนในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

เด็กบางคนจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ง่าย เช่น ระคายเคืองง่ายกับเสื้อผ้าที่สวมใส่ ไม่ชอบเหยียบหรือสัมผัสพื้นด้วยเท้าเปล่า ในขณะที่เด็กบางคนก็ไม่แสดงอาการหรือแสดงความรู้สึกใด ๆ

6. ระดับการตอบสนอง

เด็กบางคนแสดงอาการตอบสนองชัดเจน เช่น ร้องไห้ ส่งเสียง กระโดดโลดเต้น หรือมีท่าทางอื่น ๆ ที่แสดงออกทางอารมณ์ชัดเจน เด็กบางคนอาจแสดงออกเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงท่าทางใด ๆ เลย 

7. การถูกเบี่ยงเบนความสนใจ

เด็กบางคนถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ยาก เมื่อเริ่มทำอะไรแล้วจะสามารถทำได้นาน เพิกเฉยกับสิ่งเร้าหรือสิ่งรบกวนได้ แต่เด็กบางคนก็ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ตอบสนองทันทีเมื่อมีสิ่งเร้า

8. ความคงทนของสมาธิ

เด็กบางคนสามารถจดจ่อกับสิ่งที่สนใจได้นาน ตั้งใจและอดทนทำจนสำเร็จ บางคนไม่สามารถทำได้ ยอมแพ้หรือล้มเลิกความ ตั้งใจได้ง่าย

9. ลักษณะอารมณ์

เด็กบางคนเป็นเด็กอารมณ์ดี ยิ้มง่าย หัวเราะง่าย กลับกันบางคนก็ชอบงอแง ร้องไห้บ่อย หรือเข้ากับคนได้ยาก

 

"ลูกเลี้ยงยาก"
Photo by: Gabby K

 

จากการศึกษาเรื่องนี้ทำให้ Thomas พบว่าเด็ก ๆ มีลักษณะและระดับการแสดงออกต่อสิ่งรอบตัวที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถจัดเป็นกลุ่มพื้นอารมณ์ของเด็กได้เป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ

 

  กลุ่มเด็กเลี้ยงง่าย

เด็กกลุ่มนี้จะมีพื้นอารมณ์ที่เป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส ยิ้มง่าย ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็ว ไม่ค่อยแสดงท่าทางหรือการตอบสนองที่รุนแรง เช่น ร้องไห้งอแง หรือส่งเสียงดัง และมีกิจวัตรประจำวันที่เป็นเวลาสม่ำเสมอ เช่น ตื่นนอน กินข้าว ขับถ่ายเป็นเวลา และนอนหลับง่าย

 

  กลุ่มเด็กที่ปรับตัวช้า

เด็กกลุ่มนี้มีพื้นอารมณ์ที่ค่อนข้างนิ่ง เงียบ ขี้อาย มักไม่แสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งรอบตัวมากนัก มีกิจวัตรประจำวันที่เป็นเวลา ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ค่อนข้างยาก มักจะต้องใช้เวลาปรับตัวนาน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความอ่อนไหวทางอารมณ์ เช่น ท้อแท้ง่าย คิดเล็กคิดน้อย ดูเฉื่อยชา และไม่ค่อยกล้าพูด

 

  กลุ่มเด็กเลี้ยงยาก

เด็กกลุ่มนี้จะมีพื้นอารมณ์ที่คล้ายกับกลุ่มเด็กปรับตัวช้าคือ จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ยาก แต่ต่างกันที่เด็กกลุ่มนี้จะแสดงอาการตอบสนองที่ชัดเจน เช่น เมื่อรู้สึกไม่พอใจจะร้องไห้งอแง หรือถึงขั้นลงไปนอนดิ้นกับพื้น หากดีใจก็จะกระโดดโลดเต้น หรือส่งเสียงดัง เพราะพื้นอารมณ์จะเป็นเด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่งและพลังงานเยอะ ผู้ใหญ่หลายคนจะมองว่าเป็นเด็กซน และส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้จะมีอารมณ์ที่หงุดหงิดง่าย รวมถึงจะมีกิจวัตรประจำวันที่ไม่แน่นอน ตื่นนอน ทานข้าว และขับถ่ายไม่เป็นเวลา

 

ทั้งนี้ลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้ตรงกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างชัดเจน อาจมีลักษณะร่วมอยู่ในระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มก็เป็นได้เช่นกัน ซึ่งวิธีการรับมือหรือวิธีการเลี้ยงลูกให้เหมาะสมตามพื้นอารมณ์นั้นสามารถทำได้ หากพ่อแม่เข้าใจพื้นอารมณ์ของลูก ลักษณะการใช้ชีวิตของพ่อแม่ และปรับการเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับลูก

 

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เหมาะสมกับพื้นฐานอารมณ์

 

ลองมาทำความเข้าใจกันว่าที่ ลูกเลี้ยงยาก เป็นเพราะพื้นอารมณ์ของลูกโดยกำเนิด หรือเพราะพฤติกรรมของลูกไม่ตรงตามที่พ่อแม่ต้องการ ?

ความจริงแล้วการที่เราจะมองว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่ายหรือยากนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพื้นอารมณ์ของลูกเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีต่อลูกด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น 

 

ลูกมีพื้นอารมณ์เป็นเด็กที่ปรับตัวช้า แต่ต้องเปลี่ยนโรงเรียนบ่อย ๆ เพราะพ่อแม่ต้องย้ายที่ทำงาน ในมุมมองของพ่อแม่ก็คาดหวังว่าลูกจะปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ได้เร็ว แต่เมื่อลูกปรับตัวได้ช้า พ่อแม่ก็อาจคิดว่าทำไมลูกถึงเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ลูกปรับตัวได้ช้าเกินไป กลับกันถ้าพ่อแม่เข้าใจว่าลูกเป็นเด็กที่ปรับตัวช้า ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ พ่อแม่ควรจะเลือกงานที่ไม่ต้องย้ายที่หรือเดินทางบ่อย เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายใจมากขึ้น หรือหากจำเป็นต้องย้ายจริง ๆ ก็ควรเตรียมตัวลูกก่อน อาจเล่าเรื่องที่ทำงานให้ฟัง เล่าเรื่องสถานที่ที่จะย้ายไปอยู่ใหม่ เอารูปให้ลูกดู ทำให้ลูกมั่นใจว่าทุกอย่างจะโอเคเพราะพ่อแม่จะอยู่ข้าง ๆ ลูกเสมอ

 

อีกตัวอย่างเช่น ลูกเป็นเด็กที่มีพื้นอารมณ์ชอบอยู่นิ่ง ๆ ไม่ชอบวิ่ง หรืออยู่ในพื้นที่คนพลุกพล่าน การเล่นกีฬาหรือออกไปวิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่น อาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกอยากทำ ลองสังเกตว่าลูกชอบทำอะไร เช่น ลูกอาจชอบการวาดรูป อ่านหนังสือ หรือต่อเลโก้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ ไม่ต้องเจอคนเยอะ ไม่ต้องออกแรงวิ่ง ซึ่งเด็กที่ชอบอยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเข้าสังคมได้ยากกว่าเด็กที่อยู่ไม่นิ่งหรือเด็กซน ดังนั้นพ่อแม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการชวนเพื่อนสนิทของลูกสัก 2-3 คนมาเล่นที่บ้าน ทำกิจกรรมที่ลูกชอบด้วยกัน แบบนี้ลูกก็จะได้พัฒนาทักษะการเข้าสังคมอย่างมีความสุข มากกว่าการพาไปเจอคนเยอะ ๆ ที่สนามเด็กเล่น

เห็นไหมคะ ลูกเลี้ยงยาก จะเลี้ยงง่ายมากขึ้น หากพ่อแม่เข้าใจพื้นอารมณ์ของลูก เข้าใจลักษณะการใช้ชีวิตของตนเอง และสามารถปรับความคาดหวังของตนและการใช้ชีวิตให้เข้ากับพื้นอารมณ์ของลูกได้อย่างเหมาะสม การเลี้ยงดูลูกจากการเข้าใจพื้นอารมณ์เช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีขึ้นไม่ว่าลูกจะจัดอยู่ในกลุ่มพื้นอารมณ์ใดก็ตาม ลูกเลี้ยงยาก จะเป็นลูกเลี้ยงง่ายได้ หากพ่อแม่เข้าใจและปรับการเลี้ยงดูให้เหมาะกับพื้นอารมณ์ของลูกนะคะ

 

 

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหากิจกรรมที่สนุกสนานและมีประโยชน์ลูกได้ทำ ที่ BrainFit มีคอร์สฝึกและพัฒนาทักษะสมองของเด็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 3-18 ปีให้แข็งแรง พัฒนาทั้งสมาธิ ทักษะการเรียนรู้ รวมถึงทักษะด้านอารมณ์การเข้าสังคม ผ่านการทำกิจกรรมที่สนุกสนานและหลากหลาย เพราะนอกจากการเลี้ยงดูที่ดีจากครอบครัวแล้ว การฝึกทักษะการเรียนรู้ให้ลูกก็สำคัญไม่แพ้กัน มาเตรียมสมองและพัฒนาทักษะพื้นฐานของลูก ๆ ให้แข็งแรงขึ้นได้ที่ BrainFit ฝึกได้แล้วตั้งแต่วันนี้ สมัครเลย!  

 

 

 

พัฒนาสมาธิอย่างถูกวิธี สำหรับเด็กอายุ 3-18 ปี

 

 

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

02-656-9938 / 02-656-9939 

02-656-9915 / 091-774-3769

LINE Official Account: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4