โรงเรียนเปิด 10 สิ่ง ที่นักเรียนควรมี

 

 

โรงเรียนเปิด

10 สิ่ง ที่นักเรียนควรมีเมื่อ กลับเข้าสู่โรงเรียน

 

เพิ่มเพื่อน

 

โรงเรียนเปิด แล้ว!

หลังจากที่เด็ก ๆ ต้องหยุดเก็บตัวอยู่บ้านนาน ๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่าโรงเรียนหลายแห่งก็คงทะยอยเริ่มเปิดเรียนกันแล้ว เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้นักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้และพร้อมในการกลับสู่ห้องเรียน เตรียมรับเนื้อหาอย่างเต็มที่

 

เรามาเช็คกันว่า เด็ก ๆ มี 10 สิ่งนี้พร้อมกลับเข้าสู่โรงเรียนหรือยัง

 

1. ทักษะสมองขั้นสูง EF และการจัดการตนเอง (Executive Function & Self Regulations)

ทำไมต้องมี เพราะตามงานวิจัยได้มีการศึกษาไว้ว่า การที่นักเรียนมีทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง จะช่วยให้นักเรียนสามารถจัดการกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำได้ดี ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้ และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต 

ซึ่งทักษะ EF สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากนักเรียนขาดการพัฒนาทักษะส่วนนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการยับยั้งชั่งใจ การปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ การคิดแบบยืดหยุ่น การควบคุมอารมณ์ การวางแผนและการจัดการตนเอง เป็นต้น

 

2. ทักษะทางสังคม (Social Skills) 

การที่เราต้องมีทักษะทางสังคม ก็เพื่อใช้ในการสื่อสารกับเพื่อน และผู้คนรอบข้าง โดยสามารถเริ่มจากการให้เด็กรับรู้ความรู้สึกของตนเอง การพัฒนาความเชื่อใจ เช่น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นให้เด็ก ส่งเสริมความเป็นผู้นำในเด็ก ฝึกการเรียนรู้จากการแยกจากพ่อแม่เมื่อต้องกลับเข้าสู่โรงเรียน เรียนรู้การเล่นกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน แสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้ความผิดพลาด และเคารพบุคคลรอบข้าง เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน ๆ และคุณครูที่โรงเรียน 

 

3. ทักษะทางด้านภาษา (Language skills)

เพราะการเรียนรู้ภาษาเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดไปสู่การอ่านและเขียน คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตพัฒนาการด้านการฟัง การพูดของเด็ก ๆ ว่าเป็นอย่างไร ลูกมีพัฒนาการล่าช้า หรืออ่อนกว่าวัยหรือไม่ เช่น ลูกสามารถเล่าเรื่องได้ หรือพูดประโยคยาว ๆ หรือ  ออกเสียงได้ชัดตามวัยหรือไม่ ซึ่งหากพัฒนาการด้านการฟังหรือพูดช้า อาจส่งผลให้การสื่อสารและการเรียนรู้ด้านการอ่าน เขียนช้าตามไปด้วย (ฝึกภาษาอังกฤษ)

 

4. ทักษะการปฏิบัติตามคำสั่ง (Following Directions)

เพราะเมื่อเด็ก ๆ ไปโรงเรียน ทักษะนี้จำเป็นสำหรับใช้ในห้องเรียน ใช้ในการฟังคำสั่งของคุณครู เด็กสามารถทำตามคำสั่งได้ดีมากน้อยเพียงใด หรือคุณครูต้องคอยย้ำคำสั่งหลายครั้ง ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียน และนำไปสู่ความไม่เข้าใจได้

 

5. สมาธิและการจดจ่อ (Attention skills)

การมีสมาธิจดจ่อต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก คุณผู้ปกครองลองสังเกตให้ดี ๆ ว่าลูก ๆ มีความสามารถในการจดจ่อต่อการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายได้นานเพียงใด โดยที่ไม่ลุกเดินออกไปที่อื่น หรือมีการแสดงอาการวอกแวกได้ง่ายหรือไม่ เพราะการมีสมาธิ และการจดจ่อที่ดีจะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถจดจำ และเรียนรู้บทเรียนได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง (พัฒนาสมาธิ)

 

6. ทักษะความจำ (Memory skills)

เพราะการมีความจำที่ดี จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถรับรู้ข้อมูล และเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการเรียนได้ แล้วสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ โดยสามารถฝึกให้เด็กรู้จักการจับประเด็น เข้าใจเนื้อหาได้อย่างตรงจุด เช่น วันนี้ลูกไปโรงเรียน เรียนวิชาอะไรเป็นวิชาแรก ครูสอนอะไร ให้ถามเป็นรายวิชา ในที่สุดเด็กก็จะเริ่มสรุปจับประเด็น และเป็นการฝึกฝนเรื่องความจำ เพิ่มพลังความจำได้  นอกจากนี้ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็มีผลในเรื่องการพัฒนาความจำ อาทิ ปลา ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และสมองสูง โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่อยู่ในเนื้อปลา เพราะโอเมก้า 3 มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 

7. ทักษะการจัดเรียงลำดับข้อมูล (Sequencing skills)

คือความสามารถในการจัดเรียง ลำดับข้อมูล ความคิด เหตุการณ์ ไอเดีย สิ่งต่าง ๆ ได้ตามลำดับ ซึ่งหากทักษะนี้แข็งแรง จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียงลำดับความคิด และจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบตามลำดับก่อนหลัง ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการเรียบเรียงข้อมูลในขณะที่ฟังคำสั่งของคุณครูในห้องเรียนได้ดี หรือแม้แต่ในเรื่องของการอ่าน ก็ช่วยให้สามารถจัดการลำดับ และบันทึกข้อมูลขณะที่อ่านได้ดี นำไปสู่การอ่านอย่างเข้าใจ สามารถเขียน แถมยังสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากการอ่านได้ เช่น เรื่องราวใดเกิดขึ้นก่อน เกิดถัดไป เกิดทีหลัง และสามารถสรุปใจความจากการอ่านหรือเขียนได้เป็นต้น

 

8. ทักษะความสามารถในการอ่าน (Pre-reading skills)

ความสามารถในการอ่าน ไม่ได้มีไว้สำหรับใช้เพียงแค่วิชาภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่มีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทุกวิชา แม้กระทั่งวิชาคณิตศาสตร์ ก็จำเป็นต้องใช้ทักษะพื้นฐานในการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งหากทักษะด้านการอ่านของนักเรียนแข็งแรง จะทำให้การศึกษาหรือเข้าใจเนื้อหาบทเรียนนั้น ๆ มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (พัฒนาการอ่าน)

 

9. ทักษะการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (Physical skills)

ความสามารถในการเคลื่อนไหว และควบคุมร่างกายให้ดีได้นั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ หากนักเรียนขาดการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อาจส่งผลทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ไม่คล่องตัว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้นานเมื่อต้องนั่งเรียน ทำกิจกรรม หรือทำการบ้านเป็นเวลาต่อเนื่อง และอาจส่งผลทำให้ดูเหมือนขาดสมาธิ ดังนั้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้น สามารถช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ดีขึ้นได้นั่นเอง

 

10.  ทักษะความรู้สึกเชิงจำนวน (Number sense)

การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ให้เข้าใจ ต้องอาศัยทักษะพื้นฐาน เช่น ความหมาย ลักษณะ ความสำคัญ ประเภท และประโยชน์ของความรู้สึกเชิงจำนวน การที่นักเรียนมีความสามารถในการเข้าใจในโครงสร้างต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้สึกเชิงจำนวน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จะสูงขึ้น ส่งผลให้เด็กมีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้น!

 

จาก 10 ข้อนี้ คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูนะคะ ว่าเด็ก ๆ มีสิ่งไหนแล้วบ้าง และมีสิ่งไหนที่คุณควรเสริมเพิ่มเติมให้พวกเขา เพื่อจะได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของพวกเขาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก หากยังไม่แน่ใจว่าควรเริ่มฝึกจากตรงไหน สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อขอรับคำปรึกษาได้ฟรีที่สถาบัน เพราะที่สถาบัน

 

BrainFit เรา มีโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานสมองครอบคลุมทั้ง 5 ด้านที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ผ่านการวิจัย และพัฒนามาอย่างดีเพื่อเด็ก ๆ โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับเด็กวัย 3-18 ปี

 

 

พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก 3-18 ปี คลิกเลย!

 

 

ติดต่อขอรับสิทธิ์ ทดลองเรียนฟรี ได้แล้ววันนี้

LINE Official: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

026569915 / 026569938 / 026569939 

 

ที่มา: learnfasthq

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4