Read from Home 6 วิธีพัฒนาทักษะการอ่านช่วงโควิด-19

 

 

Read from Home

6 วิธีพัฒนาทักษะการอ่าน ช่วงโควิด-19

 

 

COVID-19 อยู่กับเรามาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว และได้ส่งผลกระทบด้านลบทำให้การเรียนเริ่มหยุดชะงักชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เรียนที่มีอายุน้อยที่สุด 

 

- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า ช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ เป็นช่วงเวลาที่เด็ก ๆ ทั้งหลายต้องการหนังสือมากที่สุด -

เหตุผลเพราะหนังสือมีบทบาทอย่างมากต่อการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวของตนเองได้ง่ายมากขึ้น 

ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ของ OECD พบว่า เด็กวัย 5 ขวบที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง หรือสามารถเข้าถึงหนังสือได้มากกว่า มีระดับความเชื่อมั่นไว้ใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะทางสังคม และความใจเย็นมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้หยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่าน โดยข้อดีที่ค้นพบจากการอ่านหนังสือนี้ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มเติมจากบทบาทของหนังสือที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ ของเด็กทุกกลุ่มชนชั้นเศรษฐกิจสังคม 

นักวิจัยที่ศึกษาเด็กในอัลเบอร์ตา รายงานว่า นักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เด็กมักจะอ่านหนังสือช้ากว่าเกณฑ์ถึง 6-8 เดือน 

และนักวิจัยนานาชาติยังได้คาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ ที่จะเกิดผลกระทบในระยะยาวที่ร้ายแรง หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาการสูญเสียการเรียนรู้นี้

 

"อ่านภาษาอังกฤษ"

 

เนื่องจากการอ่านเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ทางด้านวิชาการ รวมถึงความสำเร็จทางการศึกษาในระยะยาว การสร้างทักษะการอ่านในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเกรด 1 และ 4 แล้วนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

พ่อแม่หลายท่านอาจทราบดีว่าการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กปลูกฝังการรักการอ่านแบบเจริญงอกงาม ถึงแม้ว่าบางครั้ง เราอาจจะไม่รู้ว่า เด็ก ๆ ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเลือกหนังสือเล่มโปรดเพื่อให้พ่อแม่ช่วยอ่านให้ฟัง แต่พ่อแม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาซับซ้อนมากขึ้นให้เด็กได้

การอ่านหนังสือแบบอ่านออกเสียง โดยพ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง เป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะจะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะการสร้างคำศัพท์ผ่านการสนทนา และฝึกวิธีจินตนาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้

 

ฝึกฝนเพิ่มคลังคำศัพท์วิชาการ Academic vocabulary

 

เมื่อเด็กโตขึ้นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้นไป การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยสามารถที่จะนำคำศัพท์เหล่านี้ไปใช้ได้นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงให้เด็กนำไปสู่การอ่าน การวิเคราะห์ และต่อยอดสู่การใช้ทักษะการอ่าน-เขียนขั้นสูงในอนาคต

การที่เด็กจะสามารถเรียนรู้คำศัพท์ขั้นสูงได้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์จากการอ่านออกเสียง ก่อนที่พวกเขาจะสามารถสะกดหรืออ่านได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้และฝึกฝนให้เด็ก ๆ สามารถอ่านคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างคำศัพท์ให้ออกมาชัดเจนเท่านั้น แต่ยังเป็นการเรียนรู้ความหมายอีกด้วย 

รวมไปถึงการสนทนาที่มีคุณภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก เกี่ยวกับความคิดที่ซับซ้อน ยังเป็นอีกวิธีที่พ่อแม่สามารถช่วยสร้างคำพูดและฝึกคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้เด็กและยังช่วยสร้างความมั่นใจในการเพิ่มพูนความรู้ของพวกเขาอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว ความรู้ด้านคำศัพท์ต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ยังได้มาจากที่โรงเรียน นั่นก็คือ คำศัพท์เชิงวิชาการ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จทางด้านทักษะการอ่านในอนาคต และผลการเรียนในระยะยาว

เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาคำศัพท์เชิงวิชาการที่สมบูรณ์ ผู้ปกครองสามารถมองหาวิธีการอ่านออกเสียงให้กับเด็ก ๆ ผู้ปกครองสามารถเลือกสื่อและมีส่วนร่วมในการโต้ตอบเชิงบวก เพื่อเป็นการช่วยให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะในการสร้างและทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างภาษาพูดและตัวอักษร 

 

 

เรามาดูเคล็ดลับในการสร้างความสำเร็จในการอ่านหนังสือกับเด็ก ๆ กัน!

 

"ฝึกอ่านภาษาอังกฤษ"

 

>> อ่านอะไรดี ?

 

1.ผู้ปกครองควรเลือกหนังสือที่มีคำศัพท์สูงกว่าระดับชั้นเรียนของบุตรหลานของคุณเล็กน้อย หรือข่าวจากหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือสาระออนไลน์

โดยนักวิชาการด้านการศึกษา Maryanne Wolfe อธิบายว่า การอ่านผ่านกระดาษหรือหนังสือที่จับต้องได้ จะช่วยให้ผู้อ่านวัยเด็กสามารถจดจ่อและโต้ตอบกับสิ่งพิมพ์และรูปภาพได้ดี

การเรียนรู้และฝึกอ่านคำศัพท์ผ่านแหล่งข่าวสารต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มพูนคลังคำศัพท์ได้มากมาย เช่น รายงานข่าว บทความ หรือเรื่องราวที่ชวนดึงดูดทุกเพศทุกวัย ผู้ปกครองสามารถช่วยเลือกเนื้อหา เช่น ชีวิตสัตว์ป่า กีฬา หรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจ สุขภาพและการดูแลร่างกาย รวมไปถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อีกด้วย เด็ก ๆ สามารถขีดเขียนไฮไลต์หรือตัดกระดาษและปรับแต่งคำต่าง ๆ หรือโพสต์บนผนังเพื่อเป็นการทบทวนซ้ำ สิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ เช่นเดียวกับการช่วยให้เด็กเชื่อมโยงระหว่างคำศัพท์ใหม่กับคำศัพท์และเรื่องราวที่คุ้นเคยอยู่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรคำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสม และพึงระวังเรื่องระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ของเด็กที่มีต่อเนื้อหาด้วย

 

2. สร้างสะพานเชื่อมระหว่างเรื่องราว

ผู้ปกครองควรเปิดใจรับข่าวสารใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เด็ก ๆ สร้างสะพานเชื่อมระหว่างคำศัพท์และเรื่องราวที่ท้าทายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นเรื่องราวที่เด็ก ๆ รู้จักและชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ในปี 2560 มีข่าวเกี่ยวกับการช่วยเหลือการฟื้นฟูและการปล่อยลูกหมีดำตัวเล็ก ๆ สามตัวที่ถูกทอดทิ้งจากห้องน้ำในเมืองแบมฟ์รัฐอัลตา โดยเนื้อเรื่องมีคำแนะนำและคำศัพท์ทางวิชาการที่มีประโยชน์มากมาย ผู้ปกครองอาจมองหาเรื่องราวเสริมเกี่ยวกับหมีในประเภทอื่น ๆ เช่น นิทานเด็กคลาสสิกเรื่อง The Three Bears ซึ่งจะมีคำศัพท์ที่ใช้บ่อยในการสื่อสารระหว่างบุคคลขั้นพื้นฐานให้เด็กได้เรียนรู้ เช่น คำศัพท์ประจำวันที่เกี่ยวข้อง เช่น หิว อาหารเช้า จานชาม ขนาด ความรู้สึกเหนื่อย การหลับ การตื่น เป็นต้น

 

3. คุณภาพของความสนใจของผู้ใหญ่ก็มีความสำคัญ

เมื่อผู้ปกครองและเด็กอ่านหนังสือด้วยกัน สิ่งสำคัญคือ ผู้ปกครองจะต้องอ่านและมองหน้าหนังสือหรือสื่อตรงหน้าร่วมกันกับเด็ก เพื่อเป็นการแสดงออกให้เด็กเห็นว่าผู้ปกครองกำลังติดตามสิ่งที่เด็กสนใจและดูอยู่ เด็ก ๆ จะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของผู้ใหญ่ มีประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน และสนุกกับการชี้ตัวอักษรรูปภาพหรือภาพประกอบไปพร้อม ๆ กัน

 

4. คุณภาพของการพูดคุยของผู้ใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ

ผู้ปกครองสามารถมีส่วนช่วยในการอธิบายความหมายให้เด็กรับรู้ได้อย่างละเอียด โดยการช่วยอธิบายคำจำกัดความ การถอดความ หรือคำพ้องความหมาย จากสิ่งที่อ่าน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแบบคำถาม “Think-alouds” เพื่อจำลองวิธีที่ผู้คนคิดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การคาดเดา หรือการอนุมาน ผ่านคำถามประเภท “ฉันสงสัยว่า..” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการสนทนา ทดสอบความเข้าใจและยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนที่อายุน้อยเข้าใจข้อมูลใหม่ ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย

 

5. บูรณาการเทคโนโลยี

การเรียนรู้คำศัพท์ผ่านระบบดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตของเด็กเช่นกัน ด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล พวกเขาสามารถสำรวจและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวที่พวกเขาสนใจได้ ไม่ว่าจะเป็น คลิปวิดีโอการประกาศข่าว สร้างโอกาสในการฟัง ดูและพูดคำศัพท์ใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยให้เด็กเข้าใจคำศัพท์ทางวิชาการได้ลึกซึ้งขึ้นและนำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ ได้ Reading Assistant Plus

 

6. เด็กโตก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน

เด็ก ๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไปได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือด้วยเช่นกัน! ในการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ศาสตราจารย์ด้านการศึกษา Sebastian P. Suggate และเพื่อนร่วมงานพบว่า เด็ก ๆ ได้เรียนรู้คำศัพท์จากการแบ่งปันเรื่องราวด้วยการออกเสียงมากกว่าการอ่านหนังสือด้วยตนเอง

การอ่านหนังสือร่วมกันส่งเสริมให้ผู้ปกครองและเด็ก ๆ จัดสรรเวลาและให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาและการอ่านออกเขียนได้ หากลองปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนได้

 

มาเริ่มต้นให้เด็ก ๆ รักการอ่านได้แล้ววันนี้ กับโปรแกรม Reading Assistant Plus ฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษออนไลน์ พร้อมเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ มากมาย เรียนรู้ด้วยตนเอง สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!

 

 

ติดต่อขอรับสิทธิ์ทดลองเรียนฟรี ได้ที่นี่

 

 

โทร 02-656-9939 / 02-656-9939 / 02-656-9915

LINE: @brainfit_th

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4