ลูก เล่นแรง! ก้าวร้าว หรือประสาทสัมผัสบกพร่อง

 

 

ลูก เล่นแรง! ก้าวร้าว หรือประสาทสัมผัสบกพร่อง

 

ลูกแรงเยอะ เล่นกับเพื่อน ๆ แรงมาก จนไม่มีเพื่อนคนไหนอยากเล่นด้วย ติดสัมผัส และไม่ระแวดระวังร่างกายตัวเอง

จริง ๆ แล้วลูกเราเป็นเด็กก้าวร้าว หรือแค่ประสาทสัมผัสบกพร่องกันนะ

 


ก่อนอื่นมารู้จักระบบประสาทสัมผัสกันก่อน

 

ระบบประสาทสัมผัส หรือระบบรับความรู้สึก แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

 

 

1. การรับสัมผัส (Tactile Sense)

เป็นการรับความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทางกาย เช่น การมองเห็น รับรส ได้กลิ่น รับความรู้สึกผ่านผิวหนัง อีกทั้งระบบการรับสัมผัสยังช่วยในเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิ รวมถึงพื้นผิวของวัสดุ และคิดวิเคราะห์ว่าควรตอบสนองอย่างไร

 

2. การรับความรู้สึกผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อของร่างกาย (Proprioceptive)

เป็นการรับรู้การเคลื่อนไหว หรือท่าทางของร่างกาย ผ่านทางข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อเมื่อมีการขยับ มีส่วนช่วยในการวางแผนการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Motor Planning) รวมถึงความระแวดระวังร่างกายของตัวเอง (Body awareness)


3. ระบบการทรงตัว (Vestibular System)


เป็นระบบที่ช่วยในการทรงตัว รักษาสมดุลของร่างกายขณะเคลื่อนไหว หมุน เอียง หรืออยู่นิ่ง ๆ เองก็ดี โดยเป็นอวัยวะที่อยู่ในหูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ Cochlea

 

 

โดยระบบต่าง ๆ นั้น จะพัฒนาขึ้นตามวัย ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น ✨

 

 

 

แล้วประสาทสัมผัสบกพร่อง คืออะไรกันนะ

 

ความบกพร่องในการประมวลผลทางประสาทสัมผัส หรือ Sensory Processing Disorder (SPD) เป็นอาการการที่สมองของเด็ก

  • รับความรู้สึกได้มากกว่า และตอบโต้ได้ไวกว่าปกติ (Hypersensitive)
  • และเด็กที่รับความรู้สึกได้น้อย และตอบโต้ได้ช้ากว่าปกติ (Hyposensitive)

 


หากประสาทสัมผัสบกพร่องจะส่งผลให้...

 

1. ในเด็กที่รับความรู้สึกได้น้อย จะติดการสัมผัส ขอบให้จับแรง เล่นแรง ๆ เนื่องจากหากสัมผัสเบา เด็กจะไม่รับรู้ถึงการสัมผัสนั้น ชอบเดินชนสิ่งของหรือคนอื่น ๆ 

 

2. ในเด็กที่รับความรู้สึกได้มาก จะไม่ชอบให้แตะตัว รวมถึงไวต่อผิวสัมผัสอื่น ๆ เช่นเสื้อผ้า รวมถึงไม่ชอบเดินเท้าเปล่า ที่ทำให้ต้องสัมผัสพื้นผิวอื่น ๆ เช่น ทราย หรือหญ้า 

 

3. ยากในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เนื่องจากรับรู้ไว หรือช้าเกินไป เช่น เชื่องช้า ซุ่มซ่าม อยู่ไม่นิ่ง ทรงตัวไม่ได้ เดินแล้วล้มบ่อย 

 

4. กะแรงไม่ถูก ออกแรงมากหรือน้อยเกินไป เช่น ออกแรงกดดินสอจนไส้หัก โยนบอลแรงหรือเบาเกิน การออกแรงขณะเล่นกับเพื่อน หรือสัตว์ 

 

 

เพราะฉะนั้นแล้ว การที่เด็ก ๆ เล่นกับเพื่อนแรงนั้น ไม่ใช่เพราะเขาก้าวร้าวแต่อย่างใด แต่เพราะประสาทสัมผัสของเด็กคนนั้น

รับความรู้สึกได้น้อย ทำให้ไม่สามารถกะแรงที่ส่งออกไปได้ถูกต้อง และหากไม่สัมผัสแรง ๆ เด็กก็จะไม่รู้สึกถึงการสัมผัสนั่นเองค่ะ

 


แล้วจะฝึกให้เด็ก ๆ ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง? 

 

  • ฝึกให้เด็กรับรู้ ได้ลองสัมผัสพื้นผิวที่มีความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงของเล่นที่มีการสั่น หรือต้องออกแรงต้านในการเช่น เช่น ดินปั้นที่มีความแข็ง
  • การออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ระบบข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อพัฒนาได้ดี
  • ฝึกระบบการทรงตัว เช่น การปั่นจักรยาน การยืนทรงตัวด้วยขาเดียว เป็นต้น

 

 

ทาง BrainFit ของเรามีกิจกรรมหลากหลาย ที่ช่วยพัฒนาระบบประสาทสัมผัสของเด็ก ๆ ให้พัฒนาไปตามวัย และทำงานได้ดียิ่งขึ้น ปรับให้การรับรู้มาก หรือน้อยเกินไปกลับมาอยู่ในระดับปกติ เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ ง่ายขึ้น 

 

หากสนใจทดลองเรียนฟรี สามารถกรอกข้อมูลด้านล่างได้เลยนะคะ                                                                                                                                                                                                                                                                                                  

                                             

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4