เข้าใจ เมื่อลูกเป็น Dyslexia

 

  เข้าใจ เมื่อลูกเป็น Dyslexia  

 

         Dyslexia คืออะไร?

          เมื่อพูดถึง Dyslexia เชื่อว่าบางท่านอาจจะสงสัยหรือเคยยินได้มาบ้าง แล้ว Dyslexia คืออะไรกันแน่

          คำว่า Dyslexia รากศัพท์แยกออก 2 ส่วน คำว่า dys มี 2 ความหมายคือ ไม่/ ความยากลำบาก/ (not /difficulties) ส่วนคำว่า lexia หมายถึง คำ การอ่าน ภาษา (words, readings, language) เมื่อรวม 2 ส่วนเป็นคำเดียวกัน จึงหมายถึง ความยากในการใช้คำ หรือปัญหาในการใช้ภาษานั่นเอง

          การระบุคำจำกัดความของ Dyslexia นั้นแตกต่างกันออกไป บางรายอาจเกิดความสับสนและเข้าใจว่า Dyslexia คือ การใช้ตัวอักษร คำ หรือประโยคสลับที่ เช่น (b/dwas/saw) ซึ่งจริงๆแล้ว ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 6 ขวบที่กำลังเริ่มเรียนรู้ภาษาและอาจเกิดความสับสนระหว่างตัวอักษรและคำที่ดูใกล้เคียงกัน แต่เมื่ออายุ 7 ขวบขึ้นไปปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไข

          การอ้างอิงตามงานวิจัยนั้น ระบุว่า แท้จริงแล้ว Dyslexia มีรากฐานมาจากการทำงานของสมองที่สั่งการและควบคุมด้านการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษร ตัวสะกด มีการทำงานบกพร่อง และยังรวมไปถึงพื้นฐานของสมองที่สั่งการด้านความจำ การวิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนตามมา

          ผู้ที่เป็น Dyslexia มักจะพบปัญหาที่ชัดเจนอยู่ 2 ด้านด้วยกัน คือ 1. พบปัญหาด้านการอ่านอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อการสะกดคำด้วย  โดยสังเกตจากการอ่านเมื่อเทียบกับระดับชั้นเรียนของตนเอง มักพบว่า มีการอ่านตะกุกตะกัก เดาคำ หรือพยายามที่จะอ่านเกริ่นเสียงออกมาเพื่อช่วยให้อ่านได้ ซึ่งนี่คือสัญญาณบ่งบอกว่า ความสามารถในการวิเคราะห์เสียงและคำ ทำงานไม่เชื่อมโยงกัน (Fluent word recognition) และปัญหาที่ 2 คือ ความสามารถในการอ่านคำใหม่ๆทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อเห็นตัวอักษรและคำใหม่ ไม่สามารถที่จะนำอักษรและสระมาผสมและสร้างคำอ่านที่เหมาะสมหรืออ่านใกล้เคียงได้ ซึ่งจะส่งผลไปยังทักษะทางด้านความเข้าใจทางการอ่านอีกด้วย ซึ่งบางรายเข้าใจผิด คิดว่าเกิดจากทักษะด้านการมอง ซึ่งจริงๆแล้วคือความไวและความสามารถในการประมวลผลทางด้านการวิเคราะห์หน่วยเสียงในภาษานั่นเอง   

 

          ในครอบครัวที่ทราบว่าบุตรหลานของตนนั้นเป็น Dyslexia อาจมาจากการตรวจจากแพทย์ สันนิษฐานจากประวัติของคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน ซึ่งในบางครั้งเราเข้าใจว่านี่คือ การมีพื้นฐานทางด้านภาษาบกพร่อง จะสังเกตอาการเหล่านี้จากกอะไร

           ผู้ที่มีอาการมักจะ

  • มีปัญหาด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา
  • มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน และการสะกดคำ

          จากการวิจัยภาพการสแกนสมองของผู้ที่เป็น Dyslexia แสดงให้เห็นว่า สมองด้านซ้ายฝั่ง temporal lobe ที่ใช้วิเคราะห์เสียงด้านการฟังคือที่มาของปัญหา ภาพแสดงให้เห็นว่า สมองไม่แสดงการทำงานเมื่อต้องใช้งานด้านภาษา ซึ่งสิ่งนี้ สามารถติดตัวและกลายเป็นปัญหาเมื่อเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้เลยทีเดียว

 

 

          แต่ในบางรายงาน ได้กล่าวไว้ว่า อาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องใดๆ ซึ่งได้มีตัวอย่างของผู้ที่เป็น Dyslexia แต่มีความสามารถทางด้านจินตนาการสูง จนนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จได้

          ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีสถาบันหรือโรงเรียนบางแห่งที่ไม่สามารถให้การช่วยเหลือหรือดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia ได้โดยตรง เนื่องจาก Dyslexia ไม่ได้ถูกระบุให้เป็นโรคหรืออาการที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเป็นทางการ ซึ่งในบางครั้งประสบการณ์ของเด็กที่เป็น Dyslexia จึงมักไม่ค่อยมีความสุขมากนักเมื่ออยู่ที่โรงเรียน เด็กๆอาจถูกมองว่า ไม่ตั้งใจเรียน หรือพยายามไม่มากพอ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้อาจสร้างบาดแผลและความไม่มั่นใจให้เด็กจนติดตัวได้

 

          การสังเกตและจำแนกอาการ

  • ระดับชั้นอนุบาล- .1-2: การอ้างอิง การทำแบบประเมิน การฝึกพูดหรืออ่าน

          ครูที่โรงเรียนสังเกตลักษณะเบื้องต้น เช่น เด็กไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง มีปัญหาในการทำตามคำสั่ง ซึ่งในบางราย นักเรียนจะได้รับการประเมินด้านการมองและการฟังบ่อยครั้ง และผลออกมาคืออยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่เด็กก็ยังไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง มีปัญหาในการทำตามคำสั่งเช่นเดิม ซึ่งลักษะณะอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เด็กคนดังกล่าวอาจจะมีปัญหาด้านความไวในการประมวลผล (Processing difficulties) ซึ่งการประเมินนี้ไม่ได้รวมอยู่ในการทดสอบโดยทั่วไปในโรงเรียน และหากสังเกตได้ว่า เด็กคนดังกล่าวยังพูดไม่ชัดและไม่สามารถพูดเป็นประโยคได้ เด็กก็ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมจากคุณครูหรือนักอรรถบำบัด

  • ระดับชั้นป. 3-4: การพบปะ การประเมิน การสังเกตพฤติกรรม

          เมื่อเด็กอยู่ในชั้นประถมปีที่ 3 แล้ว หากพบว่ายังอ่านหนังสือไม่ออก โรงเรียนบางแห่งอาจจะจัดการประเมินรายปีเพื่อทำการทดสอบวัดระดับการอ่านให้แก่นักเรียน และเลือกจำกัดนักเรียนบางกลุ่มให้เข้ารับการช่วยเหลือ และเมื่อเวลาผ่านไป เด็กนักเรียนที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก อาจถูกลดระดับ และไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลในอันดับต้นๆอีกต่อไป ปัญหาของการอ่านหนังสือไม่ออกก็จะยังถูกสะสมต่อเนื่องต่อไป ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกวิธี ซึ่งในกลุ่มที่แสดงออกทางด้านพฤติกรรมด้านการอ่านด้วยนั้นอาจต้องได้รับการบำบัดจากนักจิตวิทยาหรือครูแนะแนวเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น

  • ระดับชั้นป. 4 ถึงระดับชั้นม. 6 การช่วยเหลือในห้องเรียน และกลยุทธ์ในการรับมือ

          เมื่อเด็กได้รับการตรวจและวินิจฉัยว่า เด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะต้องได้รับการดูแลด้านภาษาอย่างถูกวิธี เช่น การฝึกโดยใช้ซอฟต์แวร์ ที่ช่วยพัฒนาการสมองผ่านการฟังและการอ่านเพื่อช่วยพัฒนาเด็กที่เป็น Dyslexia โดยมาก จะเริ่มพบปัญหาในช่วงวัยอนุบาล ซึ่งในเด็กวัยนี้ การวินิจฉัยจากแพทย์จะไม่สามารถระบุได้ว่าเด็กมีปัญหาด้านความไวในการประมวลผลทางการฟังและการมองได้อย่างชัดเจนนัก (auditory processing + visual processing) และเมื่อเด็กย่างเข้าสู่ประถมวัย การเรียนการสอนจะเน้นในเรื่อง ตัวอักษร โฟนิกส์ (Phonics) และกลุ่มคำศัพท์มากขึ้น การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สมองด้านความจำ สมาธิ ความไวในการประมวลผลข้อมูล และการเรียงลำดับข้อมูลเนื้อหาต่างๆให้ถูกต้องและแม่นยำเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่า เด็กที่มีอาการ LD, Dyslexia, ADD/ADHD จะประสบปัญหาในการเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เนื่องจากทักษะพื้นฐานการทำงานของสมองด้านภาษายังไม่แข็งแรง  

          ปัญหาจะเกิดขึ้นกับเด็กในระยะยาวอย่างแน่นอน หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกวิธี เนื่องจากจำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนอาจมีจำกัด และไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง เมื่อนักเรียนต้องรับเนื้อหาที่หนักขึ้นและมากขึ้น จึงทำให้เด็กขาดแรงบันดาลใจที่จะพยายามต่อไป เนื่องจากเด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขที่สาเหตุและต้นตออย่างถูกวิธี เด็กที่เป็น Dyslexia จึงควรได้รับการฝึกและกระตุ้นสมองอย่างถูกวิธี มิฉะนั้นแล้ว ปัญหาด้านการอ่าน เขียน และสะกดคำก็จะยังคงเป็นปัญหาต่อไปจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ 

          หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ด้านการเรียนรู้ด้านภาษาล่าช้า อย่ารอช้า สถาบันมีโปรแกรมพัฒนาสมอง FAST FORWORD ที่ออกแบบจากการวิจัยรองรับแล้วว่า สามารถช่วยกระตุ้นและพัฒนาทักษะภาษาให้กับผู้ที่เป็น Dyslexia ได้อย่างตรงจุด แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และเห็นผลลัพธ์ถาวร  

 

ติดต่อเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-656-9938-9

LINE: @brainfit_th

 

Site: http://www.ldonline.org/article/14907

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4