เข้าใจกลไกการทำงานของสมอง

 

เข้าใจกลไกการทำงานของสมอง

สมองของคนเรานั้นน่ามหัศจรรย์มาก ภายในสมองประกอบไปด้วยเซลล์กว่าหลายร้อยพันล้านเซลล์ เซลล์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเรียกว่า "เซลล์ประสาท" (Neurons) เซลล์นี้จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายประสาทที่มากมายและซับซ้อน ซึ่งเซลล์ประสาทเพียงหนึ่งตัวสามารถเชื่อมต่อกับเซลล์อื่นได้มากถึง 10,000 เซลล์ 

 

การเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทนั้นไม่ใช่ลักษณะทางกายภาพ กล่าวคือ เซลล์ประสาทจะทำการส่งสัญญาณซึ่งกันและกันในลักษณะคล้าย "การพูดคุย" ผ่านสารเคมีในสมอง ซึ่งเซลล์พันล้านตัวเหล่านั้นจะถูกรวมเป็นกลุ่มต่างๆหลายกลุ่ม แม้ว่าเซลล์ในแต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบในการทำงานต่างๆกัน แต่จะสนับสนุนซึ่งกันและกัน (Reference1) http://brainbooks303.blogspot.com/2010/03/brain-trust-program-by-larry-mccleary.html

 

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าสมองสามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิต http://www.nature.com/nm/journal/v4/n11/full/nm1198_1313.html (Reference2)

 

จากเบื้องหลังการวิจัยทางด้านสมอง: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/(SICI)1097-4695(199910)41:1%3C7::AID-NEU2%3E3.0.CO;2-I/full (Reference 3) ทางด้านความสามารถของสมองในการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิต (Neuroplasticity) และการวิจัยด้านความสามารถของสมองในการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ตลอดชีวิต (Neurogenesis) ได้ระบุว่ากิจกรรมที่ถูกกำลังเป้าหมายและวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนนั้นจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถในการคิด

 

ซึ่งนั้นหมายความว่าเราทุกคน ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่สามารถพัฒนาทักษะทางด้านจิตใจได้ตั้งแต่เราเกิด และเมื่ออยู่ในช่วงอายุ 4 -84 ปี การเรียนรู้และเพิ่มเติมศักยภาพทางความคิดนั้นเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นไปได้อย่างแท้จริง

 

ท่านควรจะถามเสมอว่ากิจกรรมพัฒนาสมองที่ท่านเลือกนั้น ได้มีหลักการปฏิบัติตามแนวทางจากการวิจัยทางด้าน neuroscience หรือไม่

 

แหล่งอ้างอิง

Reference 1: Larry McCleary MD, The Brain Trust

Reference 2: Eriksson et al., “Neurogenesis in the adult human hippocampus”, Nature Medicine, 4(11): 1313-7, 1998. 4 Norman Doidge MD, The Brain that Changes Itself, 2007.

Reference 3: or example Nobel Laureate T.N. Wiesel, “Early explorations of the development and plasticity of the visual cortex: A personal view”, Journal of Neurobiology, 41(1): 7-9, 1999.

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4