ความจำระยะสั้น และ ความจำระยะยาว ต่างกันอย่างไร?

         

คุณรู้หรือไม่? ความจำ นั้นมีหลายประเภท

 

          ลูกของคุณอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วได้อย่างละเอียดและแม่นยำแต่กลับจำคำศัพท์ที่คุณครูสอนไปเมื่อวานไม่ได้เลย การทำความเข้าใจว่าความจำแต่ละประเภทนั้นต่างกันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของลูก ๆ ได้ดีขึ้น

 

          การที่เราจะจำอะไรบางอย่างก็คือการที่เราจัดเก็บข้อมูลในสมอง ซึ่งสิ่งที่เป็นข้อมูลและระยะเวลาที่เราจำสิ่งนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าความจำนั้นคือความจำประเภทไหน ความจำ มีอยู่ 2 ประเภท แบ่งตามระยะเวลาที่ความจำนั้นถูกจัดเก็บ ก็คือ ความจำระยะสั้น (Short-term memory) และ ความจำระยะยาว (Long-term memory)

 

  • ความจำระยะยาว

          เป็นหน่วยความจำที่เปรียบเสมือนคลังข้อมูลที่เราจะสามารถดึงมาใช้ได้ในอนาคต สามารถเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด เป็นระยะเวลานาน ความจำชนิดนี้สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกคือ ความจำที่เรียกคืนโดยใช้ความคิดระดับสูง )Explicit Memory) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจของบุคคลนั้น ๆ เช่น การจำได้ว่าใครมางานวันเกิดของเราบ้างเมื่อเดือนที่แล้ว หรือ จำชื่อผลไม้เขตร้อนทุกชนิด เป็นต้น ความจำอีกชนิดคือ ความจำที่สามารถเรียกคืนกลับโดยอัตโนมัติ (Implicit Memory) ซึ่งได้มาจากการฝึกทำซ้ำ ๆ เช่น การปั่นจักรยาน, การขับรถ เป็นต้น

  • ความจำระยะสั้น และ Working memory

          คือหน่วยความจำที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เพียงแค่เวลาสั้น ๆ และเก็บข้อมูลได้จำกัด ความแตกต่างระหว่างความจำสองแบบนี้ก็คือ ความจำระยะสั้น อาจจะอธิบายได้ว่าเป็นการจดจำบางอย่างไว้ ณ ชั่วขณะหนึ่งก่อนที่เราจะลืมหรือส่งต่อไปที่ความจำระยะยาว อย่างเช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์ให้นานพอที่จะเขียนมันลงไปในกระดาษ เป็นต้น แต่ working memory ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลเพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการจัดการข้อมูลอย่างคล่องแคล่วด้วย เช่น การจำหมายเลขโทรศัพท์แล้วต้องท่องหมายเลขเหล่านั้นจากหลังไปหน้าให้ถูกต้อง เป็นต้น

         เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับ Working memory ที่น่าสนใจอย่างมากมาย เนื่องจากเหล่านักวิทยาศาสตร์นั้นได้เข้าใจถึงความสำคัญของ working memory ในการเรียนรู้และปฎิบัติ นอกจากนี้ การเพิ่มทักษะของความจำแบบ working memory ได้ถูกค้นพบแล้วว่าช่วยให้ความสามารถใน การแก้ไขปัญหา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจบทความและการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์), ผลการเรียน, รวมไปถึง IQ ดีขึ้นด้วย

 

เพิ่มเพื่อน

 

คำแนะนำเกี่ยวกับความจำสำหรับคุณพ่อคุณแม่

 

  1. ทำความเข้าใจว่าความจำแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกัน

เมื่อคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วว่า สมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะสั้นและสมองส่วนที่ควบคุมความจำระยะยาวนั้นทำงานต่างกัน คุณก็จะเข้าใจว่าการที่ลูกอาจจะหลงลืมคำศัพท์ที่คุณครูสอนบ่อย ๆ แต่กลับจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้วได้อย่างแม่นยำ ไม่ใช่เพราะว่าเขาขี้เกียจหรือไม่อยากจำแต่สมองส่วนที่ควบคุมความจำด้านนั้นอาจจะแข็งแรงกว่าอีกด้านเท่านั้นเอง

  1. สะกดคำเก่งช่วยให้จำเก่ง

การจำตัวสะกดของคำคือชนิดหนึ่งของความจำโดยความหมาย (semantic memory) หรือความรู้ (knowledge) นั้นเอง ช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียนของลูก นอกเหนือจากการสอนว่าตัวอักษรนี้ออกเสียงอย่างไร การที่ให้ลูก ๆ ได้พัฒนาการตอบสนองที่ว่องไวต่อเสียงของตัวอักษรและคำต่าง ๆ ก็มีประโยชน์ในการสร้างความจำส่วนที่เกี่ยวกับเสียง (phonological memory) และส่งเสริมพื้นฐานการสะกดคำในอนาคตของลูกด้วย

  1. นอนหลับให้เพียงพอ

หลายคนคิดว่าเวลาที่เรานอน สมองของเราจะได้พักผ่อนและหยุดทำงาน แต่ความจริงแล้ว ในขณะที่เราหลับสมองของเรากำลังเรียบเรียงและจัดการข้อมูล ทั้งจัดการโยนข้อมูลที่ไม่สำคัญทิ้งไปและจัดเก็บส่วนที่สำคัญไว้ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในวันต่อไปและมีความจำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ให้ working memory ได้ทำงานบ่อย ๆ

Working memory คือความจำส่วนสำคัญที่ทำงานเมื่อเราต้องการแก้ปัญหาต่าง ๆ ความจำส่วนนี้จะช่วยให้เราจดจ่อกับโจทย์ปัญหาในมือและในขณะเดียวกันก็ทำการค้นหาและดึงข้อมูลจากหน่วยความจำระยะยาวมาช่วยในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเราสามารถฝึก working memory ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการฝึกอย่างถูกวิธี ที่ BrainFit เรามีกิจกรรมที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่าเหมาะกับการฝึกความจำ working memory อย่างเข้มข้นและได้ผลจริง

 

  1. หากลยุทธ์การจำที่เหมาะกับลูกของคุณ

เทคนิคการจำสิ่งต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้เราจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น เพื่อที่จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลและการเรียกข้อมูลกลับมาใช้ใหม่เป็นเรื่องที่ง่ายและแม่นยำมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของลูกและหาวิธีที่แตกต่างและเหมาะสมกับลูก ๆ แต่ละคน

 เคล็ด(ไม่)ลับ ลูกจำเก่ง 

          Working Memory เป็นพื้นฐานความจำที่สำคัญในการฝึกสมองแบบ Whole Brain Training ที่ BrainFit เราเล็งเห็นความสำคัญของ working memory ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและในชีวิตประจำวัน เราจึงทำงานการร่วมกับนักประสาทวิทยาระดับโลกเพื่อให้ได้หลักสูตรและกิจกรรมที่เหมาะสำหรับการฝึกสมองอย่างเข้มข้นและเห็นผลได้เร็ว 

         

 

พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ แบบครอบคลุมทุกด้าน

เหมาะสำหรับเด็ก อายุ 3-18 ปี

 

 

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

 

LINE Official Account: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

02-656-9938 / 02-656-9939 

02-656-9915 / 091-774-3769

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4