รู้หรือไม่ ? EQ พัฒนาได้ ผ่าน “กระจกสะท้อนอารมณ์”

 

 

รู้หรือไม่ ? EQ พัฒนาได้  ผ่าน “กระจกสะท้อนอารมณ์”

 

 

 

จากหนังสือเรื่อง Between Parent and Child ดร. เฮม จีนอตต์ ได้กล่าวไว้ว่า 


“เด็กเรียนรู้ลักษณะภายนอกของตัวเอง โดยการส่องกระจก ขณะเดียวกันนั้นก็เรียนรู้ลักษณะทางอารมณ์หรือเข้าใจ EQ

โดยการได้ยินเสียงสะท้อนเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง”

 

 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า กระจกสะท้อนอารมณ์พัฒนา EQ กันค่ะ

 

คุณพ่อคุณแม่ลองจินตนาการไปพร้อมกันนะคะ

 
ลองจินตนาการว่าตอนนี้เรากำลังเป็นกระจกบานใหญ่บานหนึ่งอยู่ และเป็นกระจกที่สามารถพูดได้

หากเรามองเห็นลูกน้อยกำลังโกรธ โมโห หงุดหงิด หวาดกลัว หรือแสดงอารมณ์อื่น ๆ อยู่ในขณะนั้น

คุณพ่อคุณแม่คงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เราจะทำยังไงดีนะ เราจะมีวิธีรับมือให้ลูกหยุดอารมณ์เหล่านั้นด้วยวิธีไหน

 

 

แต่อย่าลืมนะคะ ว่า ตอนนี้เรากำลังทำหน้าที่เป็นกระจกอยู่

 

แล้วเราจะเลือกเป็นกระจกแบบไหนกันนะ

 

กระจกบานแรก: กระจกที่ตะโกนออกไปอย่างเสียงดังเพื่อให้ลูกหยุดแสดงอารมณ์


กระจกบานที่สอง: กระจกที่แสดงอาการเมินเฉย ไม่สนใจ และปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์ต่อไป


กระจกบานสุดท้าย: กระจกที่คอยรับฟัง รอจังหวะ และพูดคุยสะท้อนอารมณ์ให้ลูกเข้าใจ

 

 

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกำลังหาคำตอบและเลือกคำตอบที่ดีที่สุดอยู่ใช่ไหมคะ

และเราเข้าใจว่าในสถานการณ์ที่ลูกน้อยกำลังหวาดกลัว โกรธ เสียใจ สับสน หรือคับแค้นใจ พ่อแม่หลายคนคงกังวล และพยายามหาทุกวิธีเพื่อช่วยให้ลูกผ่านพ้นไปได้

 

"EQ กระจก"

 

 

มาลองดูกันว่า กระจกแต่ละบาน สื่อถึงอะไรบ้าง 

 

  • กระจกบานแรก

                     สื่อถึงการพูดคุยแบบใช้อารมณ์ต่อกัน เมื่อลูกโกรธ ร้องไห้เสียงดัง แล้วเราตะโกนบอกให้หยุด หรือใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ เช่น

“หยุดร้อง ร้องไห้ทำไม!”

“หยุดร้องเดี๋ยวนี้นะ!”

“ร้องไปก็ไม่มีประโยชน์!”

                     เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยไม่เชื่อใจคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากตอนนั้นลูกยังไม่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของตัวเองได้

                     อย่างแน่ชัดเมื่อเราพูดแบบใช้อารมณ์กลับไปทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกอย่างพังลงเหมือนกระจกที่แตกสลาย 

                                                               

                                                                                                                  

  • กระจกบานที่สอง 

                     สื่อถึงการเมินเฉย ไม่สนใจ ถ้านานไปจะเป็นการแสดงให้ลูกน้อยรู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญและเขาจะแสดงอารมณ์เพิ่มขึ้นเพื่อให้ตัวเองได้รับความสนใจ 

                     *การเมินเฉยสามารถทำได้นะคะ แต่ต้องไม่ทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น เล่นมือถือ

                      เพราะการเมินเฉยเราทำเพื่อให้ลูกรู้ว่าตอนนี้เขากำลังทำพฤติกรรมที่ไม่ดีอยู่ เมื่อลูกอารมณ์เย็นลงก็ค่อยเข้าไปพูดคุยกับลูกได้ค่ะ*

 

 

  • กระจกบานสุดท้าย  

                     สื่อถึงการรับฟังอย่างเข้าใจ รอการพูดคุยอย่างใจเย็น และพูดคุยสะท้อนอารมณ์ให้ลูกเข้าใจว่าตัวเองรู้สึกยังไง เช่น พยักหน้า มองตา โอบกอด

                     เพื่อให้ลูกรู้ว่าเราฟังอยู่นะ รวมไปถึงการใช้น้ำเสียงของพ่อแม่ด้วยเช่นกันค่ะ  

 


เพิ่มเพื่อน

 

 

BrainFit ขอเสนอในมุมของเทคนิค รับฟัง พูดคุย ผ่านกระจกสะท้อนอารมณ์ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการเข้าใจอารมณ์ของลูกน้อย และช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หรือทักษะ EQ ได้ด้วยเช่นกันค่ะ

 

 

 

 

เทคนิค รับฟัง พูดคุย พัฒนา EQ ผ่านกระจกสะท้อนอารมณ์

 

  1. รับฟัง  

    การรับฟังคือการหยุดสิ่งที่เราคิดหรือสิ่งที่อยากพูดไว้ก่อน รับฟังเสียงของลูกน้อยอย่างตั้งใจ รับฟังว่าลูกรู้สึกอย่างไร ซึ่งสิ่งแรกของการเป็นกระจกสะท้อนอารมณ์ให้ลูกน้อยจึงเป็นการ รับฟัง

     

  2. ให้เวลาและรอจังหวะในการพูดคุย 

    การให้เวลา ไม่ได้เป็นการกำหนดระยะเวลา แต่เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ลูกน้อยได้แสดงอารมณ์ออกมาก่อน ซึ่งในขณะนั้นผู้ปกครองต้องอยู่กับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าเราอยู่ด้วยกันและไม่ทิ้งไปไหน หลังจากนั้นจังหวะในการพูดคุยสำคัญมาก เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มสงบลง หันมามอง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเล็ก ๆ ที่เราสามารถเข้าไปพูดคุยกับลูกได้ 

                                                                                            

  3. พูดคุยเพื่อสะท้อนอารมณ์ 

    การพูดคุยเพื่อสะท้อนอารมณ์ ช่วยให้ลูกเข้าใจอารมณ์ตัวเองก่อน เมื่อลูกเข้าใจอารมณ์ตัวเองแล้วก็สามารถกลับไปคิดทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ลูกกำลังเล่นของเล่นกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่เพื่อนทำของเล่นชิ้นโปรดของลูกพัง ลูกน้อยจึงโกรธมาก ตะโกนเสียงดังและเผลอไปผลักเพื่อน 
    เมื่อลูกแสดงอารมณ์ออกมา เราทำหน้าที่เป็นเหมือนกับกระจกที่สะท้อนอารมณ์ของเขาเพื่อให้เขาได้รับรู้และเข้าใจอารมณ์ของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการพูดคุยได้ดังนี้ 

    “แม่เห็นว่าเมื่อกี้ลูกกำลังโกรธมากเลยนะ” 
    “ลูกตะโกนเสียงดังแบบนี้แสดงว่าลูกกำลังโกรธอยู่นะคะ” 
    “แม่ฟังแล้ว ตอนนี้ลูกกำลังหงุดหงิดมากเลย”
    ใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงความห่วงใยของเรา

     

  4. เข้าใจอย่างแท้จริง 

    การแสดงความเข้าใจสามารถทำได้ผ่านภาษากายและคำพูด เช่น การกอด การลูบหัว การพยักหน้า การบอกลูกว่า “แม่เข้าใจตอนนี้ลูกกำลังโกรธอยู่” “ลูกโกรธได้ ลูกเสียใจได้ แม่อยู่ตรงนี้กับลูกนะ” เพื่อสื่อให้ลูกรับรู้ว่า ลูกคือคนสำคัญและเราเข้าใจความรู้สึกของลูกอย่างแท้จริง

 

เมื่อเราใช้ เทคนิครับฟัง พูดคุย ผ่านกระจกสะท้อนอารมณ์ เพื่อช่วยให้ลูกน้อย

ค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดของตัวเอง ช่วยในการเรียนรู้เรื่องอารมณ์

และฝึกทักษะความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ ได้ด้วยเช่นกัน 

 

 

 

 

        นอกจากนี้ สถาบัน BrainFit ของเรามีคอร์ส Whole Brain Training ฝึกทักษะสมาธิ การจดจ่อ

        และรวมไปถึงทักษะ ทางด้านอารมณ์ หากน้อง ๆ ได้ฝึกควบคู่กันไปก็จะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

 

 

สมัครด่วน! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด

 

 



จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4