วิธีกระตุ้นให้ลูกรัก กล้าพูด !

 

 

วิธีกระตุ้นให้ลูกรัก กล้าพูด !

 

ชอบหรือไม่ชอบ ก็ไม่บอก? เวลาถามอะไรเขาก็ตอบน้อย หรือบางครั้งแม่ก็ต้องเดาใจว่าเขาอยากทำหรือต้องการอะไรกันแน่ เหมือนเขาไม่ "กล้าพูด"  ?

 


เพิ่มเพื่อน
 

 

ซึ่งดูเหมือนว่าการที่ลูกรักพูดน้อย หรือไม่ค่อยแสดงความรู้สึกออกมา ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกลำบากใจและอาจส่งผลต่อทักษะการเข้าสังคมของเขาในอนาคตอีกด้วย

 

"กล้าพูด"

 

โดยผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยา ได้ให้ข้อมูลว่าหากเด็ก ๆ มีความกล้าที่จะพูดในสิ่งที่คิดหรือแสดงความรู้สึกของตัวเอง เช่น ลูกสามารถพูดปฏิเสธได้ตรง ๆ เมื่อเขาไม่ชอบ หรือสามารถแบ่งปันเล่าเรื่องราวของวันได้เป็นลำดับขั้นตอน ก็จะทำให้เขามีความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี เพราะในอนาคตเขาต้องมีทักษะการสื่อสาร มีการแสดงความคิดเห็น และอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม

 

วันนี้ BrainFit ได้นำวิธีกระตุ้นให้ลูกรักกล้าพูดจาก Marcie Beigel ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ ✨

 

 1.ให้เขาตอบคำถามด้วยตัวเอง

 

​​​​​​เช่น เวลาที่ออกไปข้างนอก หรือพบปะคนรู้จัก แล้วเขาถามคำถามลูกเรา แต่คุณพ่อคุณแม่เลือกจะช่วยตอบคำถามแทนเขา คงเพราะไม่อยากให้บทสนทนายืดเยื้อ

แต่ในขณะเดียวกัน จะยิ่งเป็นการปิดโอกาสให้เขาได้ลองสำรวจความคิดและพูดออกไป ดังนั้นเราสามารถให้เวลาและไม่เร่งรัดจนเกินไป เพื่อให้เขาได้ใช้เวลาในการตอบคำถามนะคะ

 

2.หาเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด

 

หรือเรียกว่า “Family time” โดยใช้หัวข้อสนทนาที่เขาสนใจ จากนั้นพยายามใช้คำถามปลายเปิด และรอให้เขานึกและตอบคำถาม เช่น “น่าสนใจมากเลย เล่าให้แม่ฟังอีกได้ไหม” “ลูกไปเรียนวิธีนี้มาจากไหนเหรอคะ” “แม่สงสัยว่า ทำไม…ถึงเป็นแบบนี้” “แม่เพิ่งรู้ว่าสิ่งที่หนูเล่า มันเป็นแบบนี้เหรอคะ มันเป็นแบบนี้ได้ยังไงเหรอคะ?”

 

 

"ครอบครัว"

 

 

3.ไม่ตัดสินสิ่งที่เขาพูด

 

เพราะแน่นอนว่าจะทำให้เขารู้สึกไม่มั่นใจ และเลือกที่จะอยู่เฉย ๆ แทนการแสดงความคิดเห็น เพราะลูกได้เรียนรู้ไปแล้วว่า พูดไปก็ไม่มีคนรับฟัง แถมยังโดนตัดสินอีก

ดังนั้นเมื่อเขาพยายามยกหัวข้อขึ้นมาพูด หน้าที่ของเราคือการรับฟัง และไม่ตั้งคำถามที่ทำให้เขาถอดใจที่จะพูด เช่น ไปชอบได้ไง? แม่ไม่เห็นว่ามันจะดีตรงไหนเลย?

 

4.หลีกเลี่ยงการตัดสินตัวตนของเขา

คือการที่คุณพ่อคุณแม่ หรือคนรอบข้างนิยามตัวตนของเด็ก แทนการเรียกชื่อเขา เช่น “เด็กที่หัวดี ๆ น่ะ” “น้องแว่น ที่เดินช้า ๆ นั่นน่ะ” “น้องที่หัวช้าหน่อย” เพราะเด็ก ๆ จะมองภาพตัวเองตามสิ่งที่คนอื่นมองเขาค่ะ และจะทำให้เขาไม่กล้าแสดงออก เพราะกลัวจะโดนตัดสินได้ในที่สุด

 

อีกทั้งก็มีเด็กบางคนที่เอาคำพูดเหล่านั้นไปเปรียบเทียบกับตัวเอง เช่น เด็กคนนั้นหัวดี แต่เราไม่เก่งพอเหรอ? ทำไมคนนั้นเขาไม่เรียกเราว่าเด็กหัวดีบ้าง และทำให้เขาขาดความมั่นใจได้เช่นกันนะคะ

 

นอกจากนี้ BrainFit ยังมีคอร์สฝึกพัฒนาสมาธิแบบ Whole Brain Training ที่นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสมาธิให้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังสามารถพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจในการสื่อสารและแสดงออก ทั้งความรู้สึกและความคิดของตัวเองให้มากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ ?

 

Source: Erica Lamberg (2020)

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4