Emotional Support พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ

 

Emotional Support การสนับสนุนทางอารมณ์

เพิ่ม พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ 

 

 

ผู้ปกครองหลายท่านอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ลูกรักร้องไห้งอแง แสดงอารมณ์ โกรธ โวยวายเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ หรือส่งเสียงดัง

เวลาที่ไม่พอใจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งผู้ปกครองก็พูดคุยกับเขาอย่างใจเย็น เช่น 

 

“เพื่อนไม่ได้ตั้งใจนะ เจ็บนิดเดียวเอง” 

“อย่าร้องไห้สิคะ หนูเพิ่งทานขนมมาเองนะลูก กินทุกวันฟันผุแย่เลย”

“หยุดร้องครับ การแข่งขันมีแพ้ ชนะเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว”

 

 

แต่หลายครั้งผู้ปกครองก็อาจจะสงสัยว่า 

“คุณพ่อ/คุณแม่ก็คุยกับเขาอย่างใจเย็นค่ะ แต่เขาไม่ฟังอะไรเลย ร้องไห้งอแงอย่างเดียว จนบางครั้งก็เหนื่อย”

 

สิ่งที่เกิดขึ้นมีหลากหลายปัจจัยเลยค่ะ อยากให้ลองมาดูการทำงานของสมองกันก่อน

เพราะพัฒนาการของสมองในส่วนการประมวลเหตุผลของเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงเท่าของผู้ใหญ่ แต่สมองในส่วนของอารมณ์นั้นจะพัฒนาเร็วกว่า

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าเมื่อมีอะไรมากระตุ้นก็จะแสดงอารมณ์ผ่านการกระทำมามากกว่า รวมไปถึงเด็กยังไม่ใช่วัยที่รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง แถมยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้การแสดงอารมณ์จึงออกมาเหนือเหตุผล

 

เราจะรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้อย่างไรดีนะ ??

 

BrainFit ขอเสนอเรื่อง Emotional Support เพื่อเพิ่ม พื้นที่ปลอดภัย 

Emotional Support หรือ การสนับสนุนทางอารมณ์ คือ การที่ผู้ปกครองช่วยให้เด็กรับรู้และเท่าทันอารมณ์ของตัวเอง สามารถควบคุม

อารมณ์ได้ดี พร้อมรับฟังเหตุผลได้ดีมากขึ้น และเป็น พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ ได้อีกด้วย                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

ตัวอย่างเหตุการณ์สมมติ

“น้องเอและน้องบีเป็นเพื่อนสนิทกัน ทั้งสองคนชอบเล่นของเล่นต่าง ๆ ด้วยกัน วันหนึ่งน้องเอเผลอเหยียบตุ๊กตาตัวโปรดของน้องบีจนเป็นรอยดำ น้องบีเสียใจมาก ร้องไห้เสียงดังและผลักน้องเอจนล้มบาดเจ็บ ทั้งน้องเอและน้องบีร้องไห้เสียงดังทั้งคู่”

คุณแม่เข้ามาเห็นเหตุการณ์ตอนสุดท้าย จึงคอยถามทั้งคู่ว่าเกิดอะไรขึ้น ด้วยความที่ทั้งคู่กำลังร้องไห้จึงไม่มีใครสามารถตอบคุณแม่ได้เลย 

 

 

เจอเหตุการณ์แบบนี้ ผู้ปกครองคิดว่าคุณแม่ในเหตุการณ์นี้จะทำอย่างไรดีคะ?

 

 

ผู้ปกครองบางคนอาจจะบอกว่า

“รอให้ทั้งคู่หยุดร้องไห้ก่อนจึงค่อยคุย” หรือ

เข้าคุยตอนนั้นเลย โดยการพูดให้น้องหยุดร้อง:  “หยุดร้องแล้วมาคุยกับแม่ก่อนนะ แม่จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น” หรือ

“พวกหนูทั้งคู่กำลังโกรธกันอยู่ใช่ไหมคะ”

 

แต่ละวิธีมีความแตกต่างกัน ซึ่งผลลัพธ์เราไม่สามารถบอกได้เลยค่ะว่าวิธีไหนที่จะเห็นผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 


 

 

 

❇️ เราจะมาชวนมองทั้ง 3 ประโยคกันเลย ❇️


 

1. “รอให้ทั้งคู่หยุดร้องไห้ก่อนจึงค่อยคุย”  

วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เรียกว่าเป็นการสนับสนุนทางอารมณ์ของน้อง คือการให้น้อง Crying out loud 
(ระบายอารมณ์ในพื้นที่ปลอดภัย) ให้เวลากับน้อง ๆ ให้ระบายอารมณ์ให้เสร็จก่อน หลังจากนั้นมาพูดคุยถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปรับความเข้าใจกันและกัน รวมไปถึงหาวิธีแก้ไขหากมีครั้งต่อไป


 

2. “หยุดร้องแล้วมาคุยกับแม่ก่อนนะ แม่จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น”

วิธีนี้ก็เป็นหนึ่งวิธีที่หลายคนเผลอทำบ่อย ๆ ซึ่งเมื่อสมองส่วนอารมณ์ทำงานก่อนแล้ว การยับยั้งจะทำได้ยากยิ่งขึ้น การบอกให้หยุดทันทีจึงทำได้ยากกว่าการรอคอยให้หยุดเอง


 

3. “พวกหนูทั้งคู่กำลังโกรธกันอยู่ใช่ไหมคะ”

วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่หลายคนยังไม่คุ้นชินและอาจจะคิดว่าทำได้ยาก เพราะวิธีนี้คือแก่นหลักของ การใช้ Emotional Support คือการสะท้อนให้น้องเข้าใจอารมณ์ของตัวเองก่อน การที่น้องงอแง ร้องไห้ เป็นเรื่องที่ซับซ้อน เราไม่สามารถบอกได้เลยถ้าไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ว่าตอนนั้นน้องรู้สึกอย่างไร หากมีหลากหลายอารมณ์รวมกันโดยที่น้องยังไม่เข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการงอแงหรือแสดงอารมณ์ที่รุนแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

 

เทคนิคเข้าใจและปรับใช้หลัก Emotional Support ได้อย่างเหมาะสม

 

1. เตรียมความพร้อมของตัวเอง นิ่งให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะเข้าไปถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


2. คอยสังเกตและให้เวลากับลูกรัก โดยบอกว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แม่ให้เวลา หนูอยู่กับตัวเองนะคะ ซึ่งแม่จะนั่งอยู่ตรงนี้ตลอด”

หากลูกเริ่มนิ่ง งอแงน้อยลง สามารถค่อย ๆ เข้าไปหาลูกได้


3. “เมื่อกี้หนูกำลังโกรธเลยใช่ไหมคะ หนูโกรธที่เพื่อนมาแย่งของเล่นหรอคะ” เป็นขั้นตอนการเปิดใจและสนับสนุนอารมณ์ของลูก 

ลูกจะค่อย ๆ คิดว่าตัวเองโกรธไหม โกรธเพราะอะไร เพราะในช่วงวัย 4 - 6 ปี พัฒนาการทางด้านอารมณ์จะเริ่มพัฒนาได้มากขึ้น

เช่น การเข้าใจอารมณ์ การรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง ยังรวมไปถึงทักษะการเข้าสังคมด้วยเช่นค่ะ

 

 

เมื่อลูกรักมี การสนับสนุนทางอารมณ์ (Emotional Support) จากคนใกล้ชิด คนรอบข้างได้ดีมากพอ เมื่อจะต้องเจอโลกที่กว้างขึ้น

ประสบการณ์ที่เยอะขึ้น ลูกรักก็จะมีความพร้อมในการเผชิญหน้าสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ 

 

 

ทาง BrainFit ของเราใส่ใจและให้ความสำคัญในทักษะพื้นฐานทางด้านต่าง ๆ ของเด็กทุก ๆ คนเลยค่ะ และเรายังมีโปรแกรมที่ช่วยฝึก

ทักษะขั้นพื้นฐานของลูกรักได้อย่างแข็งแรง เรียกว่า  BrainFit Whole Brain Training เพราะเรายังคงเชื่อว่า เมื่อเด็กมีพื้นฐานแข็งแรง

ก็จะสามารถต่อยอดกิจกรรมไปได้มากมาย ยังรวมไปถึงทักษะขั้นสูงอีกด้วย

 

 

✨หากสนใจติดต่อได้ที่นี่เลยค่ะ✨

 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4